http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,477
Page Views16,377,439
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ผลิตภัณฑ์จากไม้สักสวนป่า ออป.


Par21.doc/มีค41               ผลิตภัณฑ์จากไม้สักสวนป่า ออป.


                           
จากอดีตที่ผ่านมา องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์จากไม้สักสวนป่าที่ปลูกขึ้นเอง แม้จะผลิตด้วยความปราณีตและรูปแบบสวยงาม แข็งแรงเพียงใด ก็ขายไม่ออก ด้วยเหตุผลที่เกิดจากความเคยชินของรสนิยมคนไทย ผลิตภัณฑ์ไม้สักต้องผลิตจากไม้ป่าธรรมชาติ และราคาที่สูงกว่าแหล่งผลิตอื่นๆเช่นริมถนนสายแพร่-เด่นชัย ลำปาง-เชียงใหม่ ฯ และรายใหญ่จากกรมราชฑัณธ์ ซึ่งราคาถูกและคุณภาพต่ำ แต่กลับขายดีกว่า บัดนี้ ออป.กำลังตีตื้นขายดีจนผลิตไม่ทันแล้ว

                           จากการไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตภัณฑ์ไม้ ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เลขที่ 146 ถนนประชาราษฏร์สาย 1 เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 โทร.526-9699 ,585-2672  ซึ่งมีนายธีรพงษ์ บวรสิน เป็นผู้จัดการโรงงานนี้อยู่ เพื่อหวังว่าจะหาซื้อชุดสนามปีกไม้ที่ผลิตขายและนำไปแสดงในงานวันเกษตรแห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่งมีของจำนวนน้อยและซื้อหาในวันดังกล่าวไม่ทันลูกค้ารายอื่นๆ

                           นายธีรพงศ์เล่าให้ฟังว่า ได้รับแจ้งให้นำสินค้าไปแสดงก่อนวันงานเพียง 3 วันเท่านั้น จึงเป็นการนำสินค้าเท่าที่มีอยู่ในโรงงานไปเสนอ กลายเป็นว่า มีลูกค้ามาสั่งจองกันมากโดยเฉพาะชุดสนามที่ผลิตแบบง่ายๆ กะทัดรัด ชุดหนึ่งราคา 6,500 บาท มีโต๊ะกลาง 1 ตัว ม้านั่งยาว 2 ตัวและม้านั่งสั้น 2 ตัว ทำด้วยปีกไม้สักจากสวนป่าซึ่งเป็นส่วนเศษๆจากการใช้ประโยชน์ส่วนอื่นๆมาบ้างแล้ว

               ถ้าพูดกันตามเนื้อผ้ากับสินค้าที่เห็น ผู้ซื้อทั่วไปรวมทั้งผู้เขียนด้วยก็จะตอบว่า แพงไป แม้ว่าลักษณะงานจะดูแข็งแรง สวยงาม และมีเสน่ห์ไม่น้อยก็ตาม อย่างไรก็ดีได้รับคำตอบจากนายธีรพงศ์ว่า เมื่อเทียบกับสินค้าจากราชฑัณและแหล่งอื่นๆจะพบว่า เนื้อไม้ติดปีกที่ใช้มีความหนามากกว่า แข็งแรงกว่า ฝีมืองานปราณีตกว่าและรูปทรงก็มีรสนิยมมากกว่าแหล่งผลิตอื่นๆที่เอาง่ายและถูกกว่า                           

                          เรื่องนี้แน่นอน เพราะว่าต้นทุนไม้สักขนาดเล็กของเขาเหล่านั้นต่ำมาก ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ลักลอบมาจากสวนป่าของรัฐบาลหรือ ออป.หรือจากป่าธรรมชาติ อีกประการหนึ่งแหล่งผลิตจากราชฑัณธ์ก็ค่าแรงเป็นศูนย์จึงทำให้ชุดสนามชุดหนึ่งๆขายได้ในราคาที่ต่ำกว่า  ออป.มากทีเดียว อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อจะต้องตัดสินใจเลือกที่จะช่วยชาติบ้านเมืองด้วยการส่งเสริมกิจกรรมที่ถูกกฏหมายหรือจะส่งเสริมให้มีการกระทำผิดกฏหมาย เว้นแต่กรมราชฑัณธ์จะยืนยันว่าไม้ซื้อมาถูกต้องหรือไม่

                           ในงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ไม้ของ ออป.ยังมีโต๊ะ เก้าอี้ บาร์เหล้าขนาดเล็กล้อเลื่อน เตียงนอน ตู้โชว์ กรอบกระจกไม้สัก ชุดรับแขก บานประตู ฯลฯ ซึ่งทุกอย่างผลิตขึ้นจากไม้สวนป่าทั้งนั้น อันเป็นกฏสากลแล้วว่า ไม้ที่ใช้ผลิตสินค้าจะต้องเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นใหม่ ไม่ใช่ไม้ที่ตัดออกมาจากป่าธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผลบังคับใช้ในการส่งสินค้าขาออกมากทีเดียว

                           นายธีรพงศ์ได้กล่าวอีกว่า นับจากวันงานเกษตรแห่งชาติได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมาก ขณะนี้กำลังผลิตตามใบสั่งเพื่อนำส่งให้ตามที่อยู่ที่ลูกค้าแจ้งไว้ และจ่ายเงินให้เรียบร้อยแล้ว กรณีที่ส่งสินค้าให้นี้ก็เพราะว่าแต่ละเจ้าที่สั่งๆมาหลายชุด ถ้าสั่งชุดเดียวก็คงจะส่งให้ได้ยาก คงต้องคิดค่าขนส่งอีกราคาหนึ่ง ลูกค้าที่นำไม้มาให้ผลิตตามรูปแบบที่กำหนดก็มี จากภาคใต้เช่นสุราษฏร์ธานี เป็นต้น

                         “ไม้จากสวนป่าของ ออป.ปลูกมีหลายปี ที่ตัดออกมาผลิตสินค้านี้อายุประมาณ 14-17 ปีแทบทั้งหมด เป็นไม้ที่มีแก่นมาก มีกระพี้เป็นส่วนน้อย แต่บางต้นก็มีกระพี้มากกว่าแก่น ขึ้นอยู่กับอายุของต้นสัก อย่างไรก็ดีกรรมวิธีในการทำไม้ให้แห้งใช้เพียงการผึ่งตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใต้เปลือกจะเกิดปฏิกริยาทางเคมีระหว่างเนื้อกระพี้กับอากาศ จึงมีสีสันออกน้ำตาลเคลือบอยู่ เมื่อนำมาผ่าตัดแต่งเป็นชุดสนามฯลฯ จึงมีผิวสีสวยงามอยู่ด้วยตามธรรมชาติ ดีกว่าการถากเปลือกและกระพี้ออกไป

                         “ที่น่าเป็นห่วงคือ กระพี้ไม้สักเหล่านี้ยังมีมอดเจาะทำลาย อายุงานอาจสั้นลงหรือชำรุด แต่อย่างไรก็ดีในอนาคต ออป.จะอัดน้ำยาป้องกันด้วยเพื่อความคงทนถาวรและคุ้มค่าในการใช้งานของผู้ซื้อ ซึ่งสารเคมีที่ใช้ก็เป็นตัวที่ไม่เป็นอันตรายต่อการสัมผัสของคนหรือสัตว์แต่อย่างใดๆ เชื่อว่าหลังจากการอัดน้ำยาจะทำให้สินค้าได้รับความนิยมมากขึ้น

                          ณ ที่นี้ ใคร่ขอให้ ออป.ได้ศึกษาถึงกรรมวิธีในการป้องกันปลวกและมอดทำลายกระพี้ของไม้สักจากสวนป่า ซึ่งอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ นายพงศ์ โสโน และนางสาวทัศนีย์ รัติวานิช ได้ร่วมกันทำการวิจัยไว้ว่า การกานไม้สักให้ค่อยๆตายก่อนตัดโค่นลงมาใช้ประโยชน์ จะก่อให้เกิดผลดังนี้คือ ระหว่างที่ค่อยๆตาย ต้นสักจะพยายามใช้อาหารคือแป้งและน้ำตาลจากกระพี้ไปใช้เพื่อประทังชีวิต กว่าจะตายสนิทก็ใช้แป้งและน้ำตาลไปหมดสิ้นพอดี เมื่อแป้งและน้ำตาลไม่มีในเนื้อไม้ ปลวกกับมอดก็ไม่มีอาหารที่จะกิน

                         “อีกประการหนึ่ง ในระหว่างการกำลังค่อยๆตายของต้นสัก เกิดปฏิกริยาทางเคมีในกระพี้ไม้สักคือ เกิดสารเคมี 2 ตัวคือ Lapachol และDysoxylapachol ซึ่งสารเคมีทั้งสองตัวนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะต้นสักที่ได้รับการกานให้ค่อยๆตายเท่านั้น หากไม่มีการกานก็ไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด และคุณสมบัติของสารเคมีสองตัวนี้คือ ปลวกกับมอดไม่รบกวนนายพงศ์และคณะยังได้บันทึกเอาไว้สั้นๆว่า ในอนาคตวิธีการนี้จะนำไปใช้กับไม้สักขนาดเล็กจากสวนป่า เพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพไม้สักได้ด้วย

                        ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ออป.จะต้องหาวิธีการที่จะกานต้นสักก่อนการตัดสางขยายระยะ หรือการตัดครั้งสุดท้ายก็ตาม ซึ่งจะต้องกระทำได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่อต้นต่ำ และรูปแบบการกาน ตำแหน่งที่ควรกานให้เหมาะสมและไม่เสีนเนื้อไม้มากนักด้วย เรื่องง่ายๆอย่างนี้หากต้องนำไปปฏิบัติในพื้นที่กว้างๆ มีความสูงชัน ยากลำบากแก่การทำงาน ก็กลายเป็นเรื่องยากไปได้เหมือนกัน การศึกษากรรมวิธีและขบวนการดำเนินการจึงน่าจะต้องมีการศึกษา โดยเฉพาะว่าสวนสักอายุต่างๆที่จะต้องตัดสางนั้น จะกานแล้วใช้เวลานานเท่าใดจึงจะตายสนิทด้วย

                        ออป.มีนักวิชาการป่าไม้ที่เข้มแข็ง การนำแนวคิดการทดลองของอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ไปทดลองใช้จึงน่าที่จะเร่งกระทำ เพราะว่าหากมีผลเด่นชัด การอบอาบน้ำยาก็จะไม่ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด การใช้วิธีการธรรมชาติเช่นนี้น่าจะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศในเรื่องน้ำยาอาบเนื้อไม้ไปได้ด้วยอย่างดี

                        เรื่องการกานไม้สักขนาดเล็กจากสวนป่านี้ ได้เคยนำไปทดลองใช้แล้วที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นไม้สักสวนป่าของเอกชนขนาดอายุ 7 ปี โดยเฉลี่ยลำต้นขนาด 45-60 ซม.วัดที่ระดับอก 1.30 เมตร การกานใช้ขวานถากเปลือก กระพี้ ออกรอบต้นจนถึงแก่น ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 1.2-4 นิ้ว  ขนาดแผลกว้างห่างจากรอยบนและรอยล่าง 4 นิ้ว

ระหว่างรอการตายใบสักจะเริ่มเหี่ยวเหลืองและหลุดร่วงไป ใช้เวลาในการรอตายประมาณ 5-6 เดือน มีร่องรอยความพยายามจะมีชีวิตอยู่ของต้นสักคือ สร้างแคลลัสเพื่อจะให้ชนกัน ซึ่งหากรอยถากไม่กว้างพอก็อาจเชื่อมต่อกันได้ ต้นสักก็จะไม่ตายง่ายๆ ต้องเสียเวลามากานใหม่อีกครั้งหนึ่ง จึงจะตายสนิทดี

              ไม้ชุดนี้ถูกนำมากองทิ้งไว้กับดิน ผ่าออกเป็นสองซีกบ้าง ตัดเป็นท่อนทิ้งไว้บ้าง อย่างไรก็ดีปีกไม้หรือไม้ผ่าซีกเมื่อนำไปก่อสร้างบ้านปีกไม้ เวลาที่ผ่านมาเป็นปีสองปีก็ยังคงไม่มีร่องรอยการเข้าทำลายของมอดและปลวกเลย ทั้งนี้รวมทั้งไม้ที่ทิ้งกองไว้ระเกะระกะกับดินด้วย ผู้เขียนเป็นผู้นำไปทดลองดำเนินการตามผลการวิจัยของนายพงศ์เอง

               บัดนี้ก็เริ่มมีเอกชนนำวิธีการไปทดลองปฏิบัติกันอีกแล้วที่อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นสวนป่าไม้สักของสักทองพระนารายณ์ดังภาพประกอบที่นำเสนอมาด้วยนี้ อย่างไรก็ดี ฤดูการในการกานก็ต้องศึกษาด้วยเช่นกัน หากการกานไม่ถูกต้องกับฤดูกาลที่เหมาะสมก็อาจตายช้าหรือตายยาก เพราะว่าต้นไม้ไม่ได้รับน้ำจากทางรากแต่เพียงอย่างเดียว การตัดเพียงท่อลำเลียงน้ำลำเลียงอาหารอาจไม่ตายก็ได้

            ส่วนเรื่องนี้เอกชนรายใดที่ปรารถนาจะนำไปทดลองก็ขอให้ปฏิบัติดังนี้

1.  ฤดูการกานที่เหมาะสม  เริ่มการกานต้นเดือนธันวาคมเป็นต้นไป เพราะว่าต้นสักเข้าข่ายจะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว และก็กำลังจะทิ้งใบในฤดูแล้ง

2.  วิธีการกาน  ใช้ขวานหรือเลื่อยขวั้นรอบต้นเหนือดินไม่เกิน 3 นิ้วเป็นรอยล่าง กานเข้าไปให้ถึงแก่นไม้เวียนไปจนรอบต้น แล้วขวั้นรอยบนให้ห่างจากรอยล่างขึ้นไปประมาณ 4-6 นิ้ว ใช้สิ่วหรือขวานถากเปลือก กระพี้ระหว่างรอยขวั้นบนและล่างออกจนถึงแก่น อย่าให้มีเหลือเชื่อมต่อกันเลย ท่อลำเลียงน้ำและอาหารจะถูกตัดขาดออกจากกันหมด

3.  การสังเกต  ระหว่างนี้ใบสักจะเริ่มเหี่ยวเฉาและเหลืองจนแห้งหลุดร่วงไป เปลือกไม้สักจะแห้งสีเปลี่ยนไป ใช้มีดถากดูจะเห็นว่าแห้งทีละนิดๆ  ระหว่างนี้ตรงรอยถากหรือขวั้นจะเห็นว่า ต้นสักพยายามที่จะสร้างแคลลัสเกิดขึ้นจากรอยบนลงไปรอยล่างหรืออาจจะต่างเกิดขึ้นเพื่อพยายามเชื่อมต่อท่อลำเลียงน้ำและอาหารอีกครั้งเพื่อมีชีวิตอยู่ หากใกล้มากและต้นสักเกิดไปไดเรับน้ำจากทางใดทางหนึ่งก็อาจจะเชื่อมต่อกันสำเร็จ ก็ไม่ตาย

4.  เมื่อผ่านไปประมาณ 5-6 เดือน สำหรับต้นสักขนาดเล็กไม่เกินกว่าเส้นรอบวงเพียงอก 60 ซม.ก็น่าจะตายสนิทภายในเวลาดังกล่าว ก็ตัดโค่นได้ เนื้อไม้ที่แห้ง น้ำหนักเบา ตัดโค่นลงมาก็ไม่แตกหักง่าย ขนส่งก็สะดวกประหยัดค่าขนส่งหรือชักลากมารวมหมอน

5.  ปฏิกริยาทางเคมีที่เกิดภายในกระพี้ไม้สัก มองไม่เห็น แต่ต้องเชื่อเพราะว่าผ่านกระบวนการวิจัยของอดีตอธิบดีกรมป่าไม้ นายพงศ์  โสโนมาแล้ว ย่อมน่าเชื่อถือได้ 100%

                 วันนี้ก็ยังคงวนเวียนอยู่กับไม้สัก ด้วยความกังวลเรื่องยังมีคนไม่ทราบอีกมาเหลือเกินกับการใช้ประโยชน์ผลการวิจัยมาประยุกติ์ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพไม้สักขนาดเล็กให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ในช่วงเวลาอีกไม่นานนี้จะมีการตัดสางขยายระยะกันมาก ไม้ขนาดเล็กจะนำไปใช้อะไรได้กันบ้างหนอ

 

 

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view