http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,405
Page Views16,377,310
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

แมลงศัตรูต้นสัก การป้องกันและการกำจัด


Par20.doc/มค.41                        แมลงศัตรูต้นสัก การป้องกันและการกำจัด

           
            
บนความคาดหวังจากการปลูกป่าไม้สักเพื่อการค้า ทุกคนปรารถนาที่จะได้ต้นสักที่เจริญเติบโตดี ใช้ระยะเวลาสั้นๆในการปลูกจนขายเป็นสินค้า ได้ลำต้นไม้สักที่มีรูปทรงสวยงามคือเปลาตรงและเนื้อไม้มีคุณภาพดีขายได้ราคาสูง นอกจากการปลูกและบำรุงรักษาดีแล้ว การป้องกันและการกำจัดแมลงศัตรูต้นสักจึงมีส่วนสำคัญในการสนองตอบความต้องการดังกล่าวข้างต้น มิเช่นนั้นก็จะได้ต้นสักคุณภาพเลวๆ

ชนิดของแมลงต้นสักที่สำคัญๆ

            นายศุภโชติ  อึ้งวิจารณ์ปัญญา นักวิชาการป่าไม้ 7 . กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ ได้นำเสนอในเอกสารเผยแพร่ของส่วนปลูกป่าภาคเอกชนว่า แมลงที่เป็นศัตรูต้นสักมีจำนวน 72 ชนิด โดยเข้าทำลายส่วนต่างๆกันของต้นสักเช่น ใบ ดอก ผล ราก เหง้า ลำต้น กิ่ง เป็นต้น อย่างไรก็ดี แมลงทำลายต้นสักเหล่านี้ไม่เคยทำให้ต้นสักถึงตาย หากแต่ชะงักการเจริญเติบโตได้บ้าง

              หนอนผีเสื้อเจาะต้นสักเกิดจากผีเสื้อกลางคืนมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าXyleutes ceramicus Walker ภายหลังผีเสื้อออกจากตัวเต็มวัยในรูต้นสัก จะบินออกเป็นแนวราบได้ไม่ไกล ตัวเมียมีไข่เต็มท้อง ทันทีที่ออกมาจะมุ่งไปวางไข่ตามเปลือกต้นสักระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี ภายหลังการวางไข่ 2 สัปดาห์ฟักเป็นตัวหนอนขนาดเล็ก หนอนจะพยายามเจาะเปลือกเข้าไปในเนื้อไม้ การทำลายๆทุกอายุต้นสัก(ตั้งแต่เหง้า-ต้นสัก) วงจรชีวิตในต้นสักใช้เวลา 1-2 ปี จะออกมาเป็นผีเสื้ออีกครั้งหนึ่ง

            หนอนผี้เสื้อเจาะต้นสักทำลายเนื้อไม้สักเป็นรูยาวระหว่าง 15-30 ซม. กว้างระหว่าง 1-2.5 ซม. เนื้อไม้สักจะเสียคุณภาพไม้สักชั้นหนึ่งไป อาจขายไม่ได้สำหรับตลาดทั่วไป แต่อาจขายได้ราคาดีสำหรับตลาดตกแต่งภายในหรือเรียกว่าเป็นไม้แฟนซี ใช้ตบแต่งร้านค้าแปลกสวยงามไปอีกมิติหนึ่ง สังเกตุว่าต้นสักต้นใดถูกเจาะให้ดูที่ขุยปากรู ถ้าต้นสักสูงไม่เกิน 10 เมตรมักจะพบรูที่ระดับ 4-5 เมตร

            การแพร่กระจายตั้งแต่พิษณุโลกขึ้นไปทางภาคเหนือ แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อื่นๆไม่มี ในการป้องกันและกำจัดจึงเป็นมาตราการที่จำเป็น ละเลยไม่ได้แน่ๆ หากประสงค์จะได้ไม้สักที่มีเนื้อไม้สวยงามปราศจากตำหนิใดๆ  โดยเฉพาะยิ่งปล่อยให้เกิดขึ้นก็ยิ่งระบาดมากขึ้น  ผีเสื้อชนิดนี้ชอบเล่นไฟสีม่วงหรือแบล็คไล้ท์ หรือสีน้ำเงิน

            การป้องกันจึงทำได้ดังนี้

ติดไฟสีม่วง  ติดบนเสาสูงประมาณ 5-6 เมตร ขึงผ้าโปร่งสีขาวหลังหลอดไฟ ถ้าติดตั้งบนที่ที่มีสระน้ำได้ยิ่งดี เพราะว่าผี้เสื้อจะตกน้ำตายหรือเป็นอาหารปลาไป แต่ถ้าบนบกก็ควรใช้น้ำมันขี้โล้ราดรอบเสาไฟกว้างประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ผีเสื้อตกมาติดตายไป

อีกวิธีหนึ่งคือการกำจัดโดยใช้มดกำจัดหนอนผี้เสื้อได้อย่างดี จึงควรป้องกันไฟป่าไม่ให้ไหม้ มดจะทำรังแล้วหากินบนต้นสัก ช่วยทำลายหนอนที่เกิดใหม่ให้ตายไป

และใช้แบคทีเรีย(Bacillus truringiensis)ชนิดหนึ่งเรียกชื่อการค้าว่า ฟอเรย์ ไดเพล อะโกนา ธูริไซด์ แบคคัท) พ่นเป็นหมอกในช่วงที่เกิดหนอน

            หนอนกินใบสักมี 3 ชนิดที่ระบาดมากในสวนป่าไม้สัก เกิดจากผีเสื้อกลางคืน 3 ชนิด ไม่ได้ทำลายเนื้อไม้หรือทำให้ต้นสักตาย แต่ทำลายใบสักจนทำให้ใบสักทำหน้าที่ในการปรุงอาหารหรือสังเคราะห์แสงได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อต้นสักไม่มีใบสีเขียวๆก็ทำหน้าที่ไม่ได้ นักวิชาการพบว่าการทำลายใบจนหมดต้น จะลดอัตราการเจริญเติบโตไป 1/3 ของอัตราการเจริญเติบโตทั้งปี

            ชนิดที่ 1  หนอนของผีเสื้อกลางคืนขนาดกลางเรียกว่า Hyblaea puera Cramer หนอนชนิดนี้กินใบสักจนหมดโกร๋นทั้งต้นเหลือแต่ก้านใบ หนอนจะกินใบสักตั้งแต่ใบอ่อนจนเริ่มแก่ระหว่างเดือน พฤษภาคม เป็นต้นไป ใบสักจะม้วนๆเป็นที่ซ่อนตัวของหนอน

            ชนิดที่ 2  หนอนของผีเสื้อจรวดเรียกว่า Psilogramma menephron ตัวหนอสีเขียวมีลายขาวข้างตัว ขี้สีดำเป็นเม็ดโตขนาดเม็ดมะยมตกตามใต้ต้นสักหนอนตัวโตเต็มที่ 2.5 นิ้ว แต่ไม่ระบาดเท่าชนิดที่ 1 ,3

            ชนิดที่ 3  หนอนของผีเสื้อขนาดเล็กเรียกว่า Eutectona machaeralis กินเฉพาะผิวใบสักทำให้เหลือแต่เส้นใบเป็นร่างแห ระบาดมากๆจะทำให้เห็นใบสักเป็นสีน้ำตาลแดง การระบาดเกิดช้ากว่าชนิดที่ 1 จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป

            การป้องกันและกำจัด กระทำได้ดังนี้วิธีเดียว เพราะว่าผีเสื้อชนิดเหล่านี้ไม่เล่นไฟสีม่วงหรือสีน้ำเงิน การกำจัดด้วยแบคทีเรียเช่น ฟอเรย์ ธูริไซด์ อะโกนา โกแลค ดิพเพล แบคคัท ฯพ่นหมอกให้จับใบสักในช่วงการระบาด หนอนจะกินแบคทีเรียแล้วท้องเสียตายไปหมด

            หนอนสร้างปมในต้นสัก  เป็นหนอนของด้วงหนวดยาวสีน้ำตาลเรียกว่า Acalolepta cervina(Hope) ตัวสีขาว หัวกลม ปากคม ไม่มีขา จะออกจากดักแด้ในเปลือกสักมาผสมพันธุ์แล้ววางไข่ที่เปลือกต้นสัก หนอนจะเจาะเปลือกสักเข้าไปทำให้ลำต้นสักโป่งพองเป็นปม และอยู่อาศัยจนกว่าจะเป็นตัวเต็มวัยแล้วเข้าดัดแด้ต่อไป ลมพัดแรงๆต้นสักจะหักตรงรอยปมนี้

            กำจัดหนอนในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ่นยาชื่อ เลนแทรกส์ ลอร์สแบน โนวาเรน อะโซดริน หรือพอสล์ หรือบากเปลือกเป็นแผลแล้วฉีดยากำจัดลงไป

            นายวัฒนา ศักดิ์ชูวงศ์  นักกีฎะวิทยา 5  กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ ได้นำเครื่องพ่นหมอก 2 แบบไปทดลองกำจัดหนอนกินใบสักในสวนป่าเอกชนซึ่งเกิดการระบาดขึ้น ในท้องที่อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ที่สวนป่า สักทองพระนารายณ์ และอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สวนสักอนันต์ ฉายแสง นายวัฒนาได้สาธิตวิธีการใช้เครื่องทั้งสองแบบ ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่บางประการ แต่อย่างไรก็ดี นายวัฒนากล่าวว่า

            ในการใช้เครื่องพ่นหมอกนำพาเชื้อแบคทีเรีย ที่กรมป่าไม้ใช้อยู่มี 2 แบบคือ

พัลส์ฟอกซ์(pulsfog) มีเครื่องยนต์ต้นกำลังใช้น้ำมันเบนซิน ขนาดตั้งแต่ 20-60 แรงม้า ขนาดเล็กสะพายไหล่เดินไปยังที่ที่รถยนต์เข้าไม่ถึงได้ ขึ้นเขาลงห้วยได้ น้ำหนักเครื่องประมาณ 9 กก. มีถังแยกระหว่างน้ำมันโซล่าตัวทำหมอกกับถังใส่เชื้อแบคทีเรียที่ผสมน้ำแล้ว การผสมผสานกันจะเกิดเมื่อเครื่องยนต์ต้นกำลังพ่นหมอกออกซึ่งเกิดจากน้ำมันโซล่าร์

เชื้อแบคทีเรียจะลอยติดไปในหมอกแล้วจับที่ใบต้นสัก หนอนกินใบสักจะมากินแล้วเกิดอาการท้องเดินจนตายไป ความร้อนที่ปากท่อจะไม่ทำให้เชื้อแบคทีเรียตายเพราะว่าไม่ร้อนมากนัก เครื่องนี้ทำหมอกได้น้อยกว่า แต่ระหว่างการใช้ไม่ต้องเขย่า เพียงแต่ถือหรือสะพายไหล่ให้ปลายท่ออยู่ต่ำกว่าตัวเครื่อง เพื่อป้องกันน้ำมันไหลกลับทิศทาง จะเกิดไฟลุกไหม้เครื่องได้

สวิงฟอกซ์ ไม่มีถังแยกระหว่างน้ำมันโซล่าร์กับเชื้อแบคทีเรีย ผสมกันไปในถังเดียว ในขณะที่ใช้จึงต้องเขย่าไปด้วยตลอดเวลา เครื่องมีน้ำหนัก 13.5 กก. สะพายไหล่ได้เช่นกันแต่หนักกว่า เครื่องยนต์ต้นกำลัง 20-60 แรงม้า แล้วแต่เครื่องเล็กเครื่องใหญ่ ความร้อนที่เกิดปลายท่อต้องใช้อุปกรณ์ช่วยลดความร้อนลงเสริมอีกชิ้นส่วนหนึ่ง แต่เครื่องนี้ทำหมอกได้มากกว่า และก็ต้องเอียงปลายท่อลงต่ำกว่าเครื่องด้วย

หลักสำคัญในการปฏิบัติการพ่นหมอก ขอให้พิจารณาช่วงเวลาที่จะทำการว่าควรจะทำตั้งแต่เช้ามืดจนถึง 10.00 .เพราะว่าหลังจากนั้นอากาศจะร้อนแดดมาก หมอกจะกระจายขึ้นไปเร็ว การจับติดใบสักของเชื้อแบคทีเรียจะต่ำ ประสิทธิผลของการกำจัดจะต่ำ ภาวะที่เหมาะสมคือลมสงบถึงลมอ่อนๆแต่ต้องเป็นวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง หากหมอกทึบหรืออากาศขมุกขมัว การลอยตัวของหมอกจะช้า

หรือจะทำการในตอนเย็นพอแดดร่มลมตก ไปจนถึงค่ำมืดได้ก็ยิ่งดี อากาศเย็นจะช่วยให้การลอยตัวของหมอกช้า ใช้เวลามาก แต่จะได้ผลดีตรงที่หมอกจอยู่ในบรรยากาศนาน จับติดใบสักได้มากกว่า อย่างไรก็ดี ไม่สะดวกในการปฏิบัติการในเวลามืดค่ำนัก    

ในแต่ละวันทิศทางลมไม่แน่นอน ผู้ทำการต้องอยู่เหนือลมเสมอ เพื่อที่จะให้หมอกลอยไปตามลมได้โดยไม่พันตัวผู้พ่น แม้ว่าแบคทีเรียเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายก็ตาม การเดินพ่นหมอกจึงเดินถอยหลังไปเรื่อย ๆ

ในระหว่างการปฏิบัติการควรหยุดพักเครื่องทุกๆ 1 ชม.เพราะว่าเครื่องจะร้อนควรพัก 20-30 นาที ในหนึ่งวันจึงควรทำงานได้เพียง 6 ชั่วโมง เช้า 4 ชั่วโมง เย็น 2 ชั่วโมง ในสภาพอากาศเหมาะสมจะสามารถพ่นหมอกได้วันละ 200 ไร่

ส่วนตัวเชื้อแบคทีเรียที่ใช้พ่น(จะยี่ห้อใดๆก็ตาม) ผสมผสานการใช้ตามวิธีการใช้ โดยทั่วไปใช้เชื้อแบคทีเรีย 0.5 กก.ต่อน้ำ 100 ลิตร ราคาประมาณ 500-700 บาท/กก.

ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการดังกล่าว กองประเมินผล สำนักเศรษฐกิจการเกษตร อรุษา สุทธิวงศ์ ได้ประเมินไว้ในปี พ.. 2530 ค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ ไร่ละ 13  บาท

            ลักษณะต้นไม้สักที่เหมาะสมที่จะพ่นหมอก ควรสูงไม่เกิน 29 เมตร และควรสูงตั้งแต่ 7 เมตรขึ้นไป มีเรือนยอดเป็นทรงพุ่มชิดกัน สวนป่าไม้สักอายุตั้งแต่ 8-10 ปีจึงเหมาะที่จะใช้ประโยชน์มาก(สวนสักทางราชการ) แต่ในข้อเท็จจริงสวนสักของภาคเอกชนปลูกแล้วอายุ 3 ปี ก็มีความสูงมากกว่า 7 เมตร เรือนยอดชิดกันแล้ว การใช้เครื่องพ่นหมอกจึงใช้การได้ตั้งแต่ต้นสักมีความสูงพอควรและมีปริมาณใบแผ่กระจายจนชิดกันแล้ว เป็นหลัก

เรื่องการป้องกันและกำจัด ด้วยวิธีการต่างๆของหนอนกินใบสักชนิดต่างๆ กระทำได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  ส่วนการที่พบว่ามีหนอนสร้างปมในต้นสักเกิดขึ้น ต้นสักอายุประมาณ 1-2 ปี ลำต้นยังไม่ใหญ่มากนักขนาดข้อมือ สังเกตปมรอบต้นสัก หากพบให้รีบใช้มีดสับลำต้นตรงรอยปม หรือจุดที่มีขุยร่วมออกมา แล้วใช้เข็มฉีดยาใส่น้ำยาประเภทซูมิไทออน หรือเชฟวินฯ ลงไปหนอนจะตายเพราะว่าน้ำยาดูดซึม

            หรือถ้าพบว่ามีขุยมากแล้ว บาดแผลที่เปลือกบวมโตรอบต้น ตัวหนอนอาจออกไปแล้ว จากบาดแผลดังกล่าวทำให้ประสิทธิภาพของเปลือกในการยึดลำต้นเสียไป เมื่อเกิดลมพายุมักจะทำให้ต้นสักหักโค่นตรงรอยแผลดังกล่าว การแก้ไขจึงควรจะใช้มีดถากเปลือกตรงรอยแผลปม เพื่อเปิดโอกาสให้ต้นสักได้สร้างผิวเปลือกใหม่มาทดแทน เมื่อเปลือกใหม่ล้อมรอบต้นดีแล้วก็ช่วยให้ยึดลำต้นได้ดีดังเดิมได้

การเอใจใส่ของเกษตรกรเท่านั้นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของต้นสักให้เติบโตได้รวดเร็วขึ้น นั่นหมายถึงว่าต้นสักมีสุขภาพดี แข็งแรง ปราศจากโรคแมลงรบกวน

เกษตรกรรายใดปลูกไม้สักไว้มากๆ สมควรจะซื้อหาเครื่องมือไว้ใช้เอง เพราะว่าการเกิดระบาดของหนอนกินใบสักเกิดเร็ว กินเร็ว ทำลายอยู่หลายเดือน เรียกว่าใบอ่อนแตกก็ถูกกินหมด ต้นสักก็จะไม่มีใบใช้ในการปรุงอาหาร การเติบโตชะงักงันไปมากทีเดียว ติดต่อสอบถามเรื่องราวได้ที่กลุ่มแมลงศัตรูป่าไม้ โทร.561-4292-3 ต่อ 434 และ 439 ครับ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้พร้อมจะให้คำตอบท่านได้เสมอ

 

 

 

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view