http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,252
Page Views16,377,061
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

สวนป่าสักน้ำท่วมขังอาการถึงตาย

สวนป่าสักน้ำท่วมขังอาการถึงตาย

                 ข่าวความโด่งดังของน้ำท่วมแผ่ซ่านไปทุกหย่อมหญ้า ความเดือดร้อนของประชาชนจากการ_เสียทรัพย์สินมากมายหลายประการ โดยเฉพาะเมื่อกระแสน้ำส่วนหนึ่งได้ไหลบ่าท่วมเขตเมือง ทำให้ไม่มีใครสนใจกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาคเกษตรกรรมเลย ยิ่งข่าวป่าไม้สักถูกน้ำท่วมตายไม่มีคนสนใจมากนัก เพราะว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งในหลายล้านส่วนของความเสียหายคราวนี้ แต่ในทางการป่าไม้ นับได้ว่าเป็นความเสียหายที่ทำให้เกิดอาการชะงักงันไปชั่วขณะได้มากทีเดียว

                    พื้นที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำสาขาเล็กๆสายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้รับผลกระทบจากพายุฝนครั้งนี้ด้วย จนทำให้ปริมารน้ำฝนที่ตกมากกว่าปกติ น้ำแม่น้ำลพบุรีจึงไหลท่วมบ้านเมืองที่พาดผ่าน ไร่นาสาโทย่อยยับไปกับสายน้ำที่แช่ขัง ถนนพังเป็นตอนๆ เส้นทางสัญจรที่เคยใช้รถยนต์เปลี่ยนเป็นใช้ทางเรือมาทดแทนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ตั้งแต่อำเภอบ้านหมี่ไล่ลงมาถึงอำเภอโคกสำโรง อำเภอท่าวุ้งและอำเภอเมือง น้ำไม่เคยท่วมมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๖ แล้ว

                    มีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งปลูกป่าไม้สักในนาข้าว ซึ่งไม่พบว่าน้ำจะท่วมมานานกว่า ๑๓ ปี ก็เลยตายใจ เห็นว่าทางราชการส่งเสริมก็รีบรับการส่งเสริมด้วยดีปลูกกันใหญ่ได้ทั้งเงินช่วยเหลือไร่ละ ๓,๐๐๐ บาท/ ๕ ปี และคาดว่าจะได้ป่าไม้สักไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน  ความหวังของเกษตรกรกลุ่มนี้ได้จมวูบไปกับน้ำท่วมทันที แรกที่น้ำป่าไหลมาก็ไม่ได้ทราบข้อมูลอะไรเกี่ยวกับไม้สักมากนัก รู้แต่เพียงว่าลองปลูกดูแล้วเติบโตดีมาก สูงขึ้นปีละ ๓-๔ เมตร โตไวจริงๆ น่าตื่นตาตื่นใจมาก ก็เฉยๆปล่อยให้น้ำท่วมไปเรื่อยๆ แต่หลายวันเข้าใบสักใหญ่ๆก็เหลืองแล้วแห้งกรอบเมื่อน้ำท่วมกลายเป็นน้ำแช่ขัง เปลือกเริ่มเน่าเหม็น เปื่อยยุ่ยยิ่งกว่าขยำแกลบ

                    ต้นสักไม่ชอบน้ำมากนัก ชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ชอนไชรากลงดินล่างได้ดีที่ดินร่วนถึงร่วนปน

ทรายแต่เกลียดดินเหนียวหรือดินลูกรังมาก ปลูกได้แต่ก็โตช้ากว่าดินร่วน เว้นแต่การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยให้ดินร่วนซุยขึ้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในนาข้าว ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวพอน้ำท่วมขังก็ยิ่งอุ้มน้ำไว้มากขึ้นอีก รากเน่าจนหมด ตายลูกเดียว

                   คุณเนี่ย ปาลวัฒน์ ผู้ปลูกป่าไม้สักที่บ้านหัวลาด ตำบลบ้านพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ปลูกไว้ในนาข้าวจำนวนหนึ่งประมาณ ๕๐ ไร่ ยกร่องในนาข้าวแล้วปลูกผสมกับกล้วย ด้วยระยะปลูก ๒x๒ เมตร ต้นสักเติบโตประมาณ ๔ เมตร เมื่อน้ำท่วมคราวนี้เกิดไหวทัน รีบขุดตักดินเป็นท้องร่องรอบสวนแล้วโปะเป็นคันดินให้สูง กลายเป็นคันคูรอบสวนป่าไม้สักกั้นน้ำไว้ได้ส่วนหนึ่ง แล้วสูบน้ำออกด้วยเครื่องสูบน้ำจนแห้งสนิท ต้นสักยังรอดตายอยู่ได้อย่างดี

                แต่มีเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงกันคือ เกษตรกรบ้านแก้ง ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรีปลูกป่าไม้สักในนาข้าวด้วยเหมือนกัน ไม่มีคันคูกั้นน้ำแต่อย่างใดเพราะว่าไม่ได้ทราบมาก่อนว่า น้ำท่วมแล้วไม้สักจมน้ำตายไม่เหลือเลย น้ำท่วมนานหลานสัปดาห์ เปลือกเน่าจน_เปื่อยยุ่ย ท่อลำเลียงน้ำและอาหารขาดสบั้น ตายอย่างแน่นอน

                 ข้ามเลยไปที่จังหวัดพิจิตร มีแม่น้ำสำคัญๆ 2 สายใหญ่คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำพิจิตรแยกมาจากแม่น้ำน่าน ผ่ากลางระหว่างแม่น้ำสองสาย เมืองพิจิตรจึงกลายสภาพเป็นเมืองน้ำไปในปีนี้ สวนป่าไม้สัก ไม้สะเดาไม้ประดู่ไม้มะค่าโมง ฯ ประชาชนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่า ปีพ.ศ.2537และ2538 รวมเนื้อที่ 20,000 ไร่เศษ ส่วนใหญ่ปลูกป่าไม้สัก เติบโตดีมากเพราะว่าดินเป็นดินตะกอนจึงร่วนซุย

               คุณธีรพัชร โชติศรีพันธุ์พร ป่าไม้จังหวัดพิจิตร ส่งให้ไปดูสวนป่าไม้สักที่ถูกน้ำท่วมตายในเขตอำเภอเมืองหลายตำบล ส่วนใหญ่ปลูกมาแล้ว 2 ปี ต้นสักสูงประมาณ 5-7 เมตร โตขนาดเต็มกำมือ ปีนี้น้ำมากกว่าปกติ คันคลองชลประทานเกิดพังทะลาย น้ำบ่าท่วมจนมิดสวนสักหมด แช่ขังอยู่นานเป็นเดือน บางรายรีบขุดดินกั้นน้ำแล้วสูบออกทันก็รอดบ้าง บางรายใจสู้ลงทุนใหม่ปลูกซ่อมทันที แล้วถมคันดินให้สูงมั่นคงมากขึ้น แต่รายที่ตายคราวนี้ 200 ไร่ แทบหมดอาลัยตายอยาก

                   สวนสักในนาข้าวดอน น้ำท่วมไม่ถึงเติบโตเร็วมาก บางแปลงมีทั้งที่ดอนและที่ราบ ที่ดอนก็รอดตาย แต่มีอยู่แปลงหนึ่งของคุณปรีชา ภัทรากร ปลูกไม้สักผสมกับไม้มะค่าโมง ไม้สักโตเร็วกว่าเท่าตัวประมาณ 5-7 เมตร มะค่าโมงต้นเล็กกว่าเตี้ยกว่า น้ำท่วมขังเป็นเดือนๆคราวนี้ต้นสักตายหมด ต้นมะค่าโมงยังทนอยู่ได้ ใบเขียวชอุ่มดี ไม่ตายแน่นอน

                     ป่าไม้จังหวัดพิจิตรเล่าว่า ในการคัดเลือกเกษตรกรปลูกป่าได้สอบแล้วว่า ถ้ารายใดพื้นที่น้ำท่วมเป็นปกติ ก็ไม่รับเข้าร่วมโครงการ ถ้าเป็นนาข้าวดอนยังไม่น่าไว้วางใจก็ขอให้ทำคันดินกั้นแต่กั้นเตี้ยไปก็เลยไม่รอด ขณะนี้ได้รายงานความเสียหายจากป่าไม้สักล่มจมน้ำตายประมาณ 40 %_ของทั้งหมดที่ส่งเสริมไป ราวๆ 10,000 ไร่ ก็เมืองพิจิตรน้ำมากจนชาละวันมาสิงสถิตย์

                      แนวทางแก้ไข ป่าไม้จังหวัดได้ออกตรวจสอบและรายงานขอรับการช่วยเหลือจากกรมป่าไม้โดยได้ของบซื้อกล้าไม้สักเพื่อแจกจ่ายจำนวน 2 ล้านกล้า ให้กับเกษตรกรรายใดที่ประสงค์จะทำอาชีพปลูกป่าต่อไป นอกเหนือจากงบบำรุงสวนป่าปีที่ 2 หรือ 3 เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร ที่จะไม่ต้องไปเสียเงินซื้อกล้าไม้สักเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้นเกษตรกรต้องทำตามคำแนะนำคือ คันดินกั้นน้ำรอบสวนป่า

                      ไล่ลงมาที่จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอเมือง เก้าเลี้ยว หนองบัว ชุมแสง โกรกพระ ฯเริ่มรายงานความเสียหายไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่ ส่วนใหญ่ปลุกป่าไม้สักเช่นกัน อายุ 2 ปี ต้นโตสูงเจ้าของภาคภูมิใจมากและคาดหวังไว้สูง คุณวันชัย จันทร์สาครและคุณพงษ์ศักดิ์ ไชยวรรณ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของสำนักงานป่าไม้จังหวัดนครสวรรค์ ได้นำไปเยี่ยมชมหลายอำเภอ พบว่า ตายเสียส่วนใหญ่ 8 อำเภอจาก 12 อำเภอ ที่ที่น้ำไม่เคยท่วมมาเป็นสิบๆปีก็ท่วมคราวนี้ สุดวิสัยจริงๆ

                       จังหวัดนี้ก็เช่นกันได้ตรวจสอบเรื่องน้ำท่วมจนมั่นใจ จึงส่งเสริม แต่คาดไม่ถึงว่าน้ำจะมากปานนี้ คุณสมศักดิ์ สายบำรุง ราษฏรต.มหาโพธิ เก้าเลี้ยว มีที่นาข้าวดอนอยู่ 90 ไร่ ลงทุนไปมากกว่า 800,000 บาท ได้รับเงินช่วยจากโครงการ 135,000 บาท(ปี2537และ38) ต้นสักสวยงามมากสูงระดับ 6-8 เมตร น้ำท่วมอย่างคาดไม่ถึง ทำคันดินกั้นรอบสวนแล้วแต่น้ำทะลักเข้าทางถนนที่ผ่ากลางที่ดิน แก้ปัญหาไม่ทัน ก็เน่าตายหมดเช่นกัน รักต้นสักมาก ดูแลทุกวัน รู้สึกเข็ด

                  น้ำท่วมคราวนี้ได้พบว่าไม้ยูคาลิปตัสทนน้ำได้ 2-3 เดือนก็ไม่ตาย และไม้มะค่าโมงแช่น้ำก็ทนทานดี ไม่ตายง่ายๆ พื้นที่ล่อแหลมอย่างนี้ ส่งเสริมไม้สองชนิดนี้ดีกว่า ทนน้ำได้ดี

                   หรือจะเพิ่มไม้กระถินณรงค์พันธุ์ใหม่อีกสักชนิดก็ไม่เลว

 

 

 

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view