http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,440
Page Views16,377,378
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การพัฒนากล้าไม้สักพันธุ์ดี ด้วยกิ่งปักชำ

การพัฒนากล้าไม้สักพันธุ์ดี ด้วยกิ่งปักชำ

                           นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2449 กรมป่าไม้ปลูกป่าด้วยการเพาะกล้าไม้จากการอาศัยเพศ คือเก็บเมล็ดไม้สักจากแม่ไม้ป่าธรรมชาติๆ ที่ยังเหลืออยู่มากและลักษณะดี การเพาะกล้าไม้สักเพื่อปลูกป่าโดยวิธีนี้ ใช้เมล็ดหยอดลงหลุมปลูกเลยก็เคยทำ แต่ความไม่แน่นอนของอัตราการงอก(การงอกต่ำ 25-30 %)จึงได้สวนป่าที่ไม่สม่ำเสมอ

                       ต่อมาได้หว่านเมล็ดไม้สักลงแปลงเพาะกลางฤดูฝน ปล่อยให้กล้าไม้สักขึ้นเป็นต้นกล้าอายุประมาณ 9 เดือนแล้วถอนออกจากแปลงเพาะชำราวเดือนเมษายน ตัดแต่งต้นและรากออกจนหมด เหลือเฉพาะส่วนที่สะสมอาหารยาวประมาณ 20 ซม. เรียกว่า เหง้าสัก มัดรวมกันเป็นร้อย ส่งไปปลูกบนป่าหรือเขาตั้งแต่ปลายเดือน เมษายน-พฤษภาคม จะทำให้เหง้าสักแตกหน่อส่งลำต้น_ได้ดีที่สุด เพราะว่าไม้สักจะเริ่มเจริญเมื่อต้นเดือนเมษายน การทำเหง้ามีปัญหาเช่นกันได้น้อยกล้า

                       แม่ไม้สักจากป่าธรรมชาติถูกทำลายลงไปทุกปี หาแม่ไม้ดีๆยากขึ้นผลผลิตเมล็ดไม้ไม่พอเพียง วิชาการพัฒนามากขึ้น การปลูกป่าจึงนิยมการคัดเลือกพันธุ์ดี กรมป่าไม้ได้เริ่มงานสร้างสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ดีประมาณ 6,000 ไร่ จะเก็บเมล็ดไม้สักพันธุ์ดีได้เพียงปีละ 1,200-1,500 ถังในขณะที่ปริมาณความต้องการเมล็ดสักช่วงปี 2532-2535 สูงถึง 30,594 ถัง(พิศาล,2535)

                            ความขาดแคลนเมล็ดไม้สักที่ไม่พอเพียงกับความต้องการการแก่งแย่งสูง ในขณะที่มีการส่งเสริมการปลูกป่าไปยังภาคเอกชน ปีละ 1,000,000 ไร่ๆละ 200 ต้น เป็นจำนวนความต้องการกล้าไม้สัก 200,000,000 กล้า และเนื่องมาจากผลเสียของการไม่ได้คัดเลือกพันธุ์ดี จะกลายเป็นเรื่องที่น่าห่วงใยเกษตรกรมาก ถ้าผลเสียของการปลูกป่าไม้สักจากกล้าไม้พันธุ์ไม่ดี เมื่อเวลาผ่านไป 10-15 ปี ผลตอบแทนสวนสักได้ไม่ดีเท่าที่ควร เกาตรกรจะเสียหายมาก

                         คุณพิศาล วสุวานิช หัวหน้ากลุ่มจัดการเมล็ดไม้ป่า ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ ได้เน้นย้ำเสมอว่า เมล็ดพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตที่สูงกว่า การไม่คัดเลือกพันธุ์เลย และถ้าจะใช้เมล็ดพันธุ์ดีทั้งหมด สวนผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้ก็ไม่สามารถตอบสนองให้ได้พอเพียง

                           ส่วนวนวัฒนวิจัย สำนักวิชาการป่าไม้ ได้อนุมัติโครงการศึกษาและวิจัยหลากหลายกรณี ในแง่ของการพัฒนาเทคนิคการปักชำกิ่งไม้สัก เพื่อหวังผลในการผลิตกล้าไม้สักพันธุ์ดีจำนวนมาก ให้พอเพียงกับความต้องการของเกษตรกร นักวิชาการป่าไม้หลายคนได้ศึกษาแต่ละกรณีๆไป มีความแตกต่างทางเทคนิค ที่มีทั้งเรื่องยากเช่นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วตัดกิ่งปักชำ หรือการปักชำกิ่งอ่อนจากยอดต้นไม้สัก หรือกิ่งที่แตกจากตอ

                            คุณสุนันทา ขจรศรีชล นักวิชาการป่าไม้ 6 ส่วนวนวัฒนวิจัย ได้ทำการทดลองและวิจัยหลายกรณีเกี่ยวกับการปักชำกิ่งไม้สัก และนำเสนอต่อที่ประชุมการป่าไม้แห่งชาติประจำปีพ.ศ.2538 ณหอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องที่คุณสุนันทาได้วิจัย จะส่งผลดีแก่วงการป่าไม้ในอนาคต กล่าวคือ จะทราบวิธีการขยายพันธุ์ดีโดยไม่อาศัยเพศ การเพิ่มปริมาณกล้าโดยวิธีนี้ และอิทธิพลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลในการส่งเสริมการปลูกป่าไม้สักต่อไป

              1.อิทธิพลของวัสดุชำต่อการแตกรากของกิ่งชำจากกล้าไม้สัก พบว่า การใช้ขี้เถ้าแกลบผสมทรายในอัตรา 2:1 จะเป็นวัสดุชำที่ดีที่สุดในการตัดกิ่งปักชำไม้สัก กิ่งชำมีเปอร์เซ็นต์การแตกรากสูงสุดถึง 93.75 % รากเจริญแข็งแรงดี เกิดแคลลัสต่ำ 3.75 % วัสดุชำรองลงไปคือ ขี้เถ้าแกลบผสมทราย 1:1 การแตกราก 86.25 % และหน้าดินผสมทราบหยาบ 1:1 แตกราก 85 % การใช้ทรายหยาบอย่างเดียวให้ผลต่ำสุดไม่ควรใช้เลย และขุยมะพร้าวแช่น้ำก็ใช้ได้แต่เกิดแคลลัสสูง การแตกรากต่ำและรากสั้น

               2.อิทธิพลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโตของกล้า และความสามารถในการแตกรากของกิ่งชำกล้าไม้สัก ผลปรากฏว่า การพลางแสงให้กับกล้าไม้ให้มีความเข้มแสงสัมพัทธ์ 40 % จะส่งเสริมให้การเจริญเติบโตทางความสูงของกล้าไม้ดีที่สุด ส่วนการให้แสง 100 % จะเจริญเติบโตทางกว้างของลำต้นดีที่สุด แต่จะชลอการเจริญเติบโตของกล้าไม้ได้ที่ 32 % ความเข้มของแสงจะมีผลต่อการแตกรากเมื่อกล้าไม้อายุ 8 สัปดาห์เท่านั้น ด้วยการพลางแสง 32 % จะทำให้แตกรากดีที่สุด 85.56 %

               3.ผลของการใช้ออกซินต่อความสามารถในการแตกรากของกิ่งชำจากกล้าไม้สัก พบว่าการใช้ออกซิน(ในรูปแป้ง) มีผลทำให้การแตกรากเร็ว และมีความยาวของรากมากขึ้นด้วย ระดับความเข้มของออกซินชนิดแป้งที่ใช้ทดลองคือ

                  เมื่อนำยอดจากกล้าที่มีอายุ 3 สัปดาห์ คือ IBA+NAA 50:50 ppm เมื่อกล้ามีอายุ 1 เดือน คือ IBA+NAA 100:100 ppm และเมื่อกล้ามีอายุ 1.5 เดือน คือ IBA+NAA 200 ppm IBA+NAA 100:100 การแตกราก 82.50 % รากยาว 2.78 ซม. จำนวนราก 2.31 %

                   4.การศึกษาขนาดของกิ่งชำและพื้นที่ผิวใบที่เหมาะสมในการตัดชำยอดของกล้าไม้สัก พบว่า การตัดชำกล้าไม้สักควรตัดชำแบบข้อเดียว การแตกรากดีกว่าการตัดชำแบบสองข้อ การตัดชำที่ใช้อ็อกซินเร่งรากพบว่า การเหลือพื้นที่ผิวใบกิ่งชำไว้ครึ่งใบ จะให้ผลดีกว่าการเหลือผิวใบ 1/3ใบแต่ถ้าไม่ใช้ออกซินเร่งรากเลย พบว่าการเหลือพื้นที่ผิวใบ 1/4 มีการแตกราดีกว่าเหลือผิวใบ 1/3 และดีกว่าเหลิอผิวใบไว้ 1/2 ใบ

                   คุณสุนันทา ขจรศรีชล ได้ทำการวิจัย/ทดลองการปรับปรุงพันธุ์ไม้สักหลายประเด็น หลายพื้นที่ ขึ้นอยู่กับว่าจะทำการวิจัยเรื่องใดๆ สิ่งที่คุณสุนันทายึดมั่นคือ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน หรือในวงการป่าไม้ไทย เรื่องราวการวิจัยต่างๆจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ส่งผลให้เกิดการนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นจุดมุ่งเน้นที่พัฒนารูปแบบมาจากการวิจัยเพื่อผลทางวิชาการแต่เพียงประเด็นเดียว เป็นการวิจัยเพื่อประชาชนครับ

                     ลักษณะงานวิจัยเหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตกล้าไม้ให้ได้ปริมาณมากๆ ตอบสนองความต้องการกล้าไม้สักที่กำลังมีปัญหาในการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชน เนื่องจากการปลูกที่เริ่มต้นตรงไม่ได้คัดเลือกพันธุ์ดี ได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว หลายกลุ่มที่ปลูกโดยไม่ได้คัดเลือกกล้าไม้พันธุ์ดีพบว่าสวนสักที่ปลูกเติบโตไม่สม่ำเสมอกัน รูปทรงต้นไม่เปลาตรง แตกกิ่งก้านมาก คดงอ ต้นเตี้ยไม่สูงเท่าที่ควร แต่การตัดชำกิ่งขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศนี้ ให้ผลผลิตที่เป็นกล้าไม้ลักษณะดีเช่นต้นแม่พันธุ์ที่ได้นำมาปักชำ ผลผลิตสูงแน่

 

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view