http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,489
Page Views16,377,476
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปลูกป่าไม้สักต้องศึกษาธรรมชาติไม้สัก_


ปลูกป่าไม้สักต้องศึกษาธรรมชาติไม้สัก

 

                     เมื่อคราวน้ำท่วมปลายฝนที่แล้ว ได้สัจจธรรมที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ สวนป่าไม้สักถูกน้ำท่วมตายกันมากมาย นักวิชาการป่าไม้ได้ให้คำแนะนำ แนวทางปฏิบัติ เกี่ยวกับชนิดไม้ที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกป่า 53 ชนิด แต่ให้เลือกกันเอง ปรับเปลี่ยนชนิดพันธุ์ที่ปลูกตามความเหมาะสมของพื้นที่ ดีกว่าปรับพื้นที่ให้เข้ากับชนิดไม้ เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นกับห้าภาคทั่วประเทศไทย

                        การส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกป่าไม้สัก และไม้อื่นๆ ตามพระราชบัญญัติสวนป่า ๒๕๓๕ ด้วย

เงินงบประมาณก้อนมหึมาจำนวน ๓,๐๐๐ล้านบาทในการปลูกป่า ๕ ปี ซึ่งแบ่งเฉลี่ยจ่ายให้ปีละ ๘๐๐,๗๐๐,๖๐๐,๕๐๐,และ ๔๐๐ บาท/ไร่ ในการจ่ายเงินงบประมาณเหล่านี้ มีขั้นตอนในระเบียบควบคุมไว้อย่างหนาแน่น มีการตรวจสอบก่อนหลังการจ่าย เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของรัฐบาลและเกษตรกร สนใจติดต่อ สำนักงานป่าไม้อำเภอหรือ ป่าไม้จังหวัด ที่ที่ดินตั้งอยู่

                  ปีงบประมาณ ๒๕๓๘ ได้เพิ่มอย่างต่อเนื่องจำนวน ๑ ล้านไร่ เป็นวงเงินผูกพัน ๓,๐๐๐ _ล้านบาท แบ่งจ่ายใน ๕ ปีเช่นกัน ทั้งสองปีงบประมาณปลูกป่าไม้จำนวน ๕๓ ชนิดที่กรมป่าไม้กำหนดไว้ นอกเหนือจากนั้นไม่ได้รับส่งเสริม หากไปส่งเสริมก็เป็นความผิด เพราะว่าฝ่าฝืนกฏหมายและระเบียบกรมป่าไม้ เช่นไปส่งเสริมให้ปลูกป่าไม้คูณ เป็นสวนป่าเศรษฐกิจนอกบัญชีส่งเสริม ประ_เภทที่ดินที่ปลูกเป็นกรรมสิทธิ์แล้วเช่น โฉนด สน.๓ นส.๓ ก. สปก ๔-๐๑ ฯลฯ ผลของการส่งเสริม ๒ ปีติดต่อกัน ปรากฏว่าส่วนใหญ่ปลูกป่าไม้สัก รองลงมาเป็นไม้ประดู่ ไม้สะเดาไทย ยาง มะค่าโมง ตะเคียนทอง ฯลฯ
                     พื้นที่ที่ปลูกมีทั้งภาคเหนือ อิสาณ ใต้ กลาง ตะวันตก และตะวันออก จังหวัดที่ปลูกไม้สักมากที่สุดคือภาคเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคอิสาณ(ตะวันออกเฉียงเหนือ) และภาคตะวันออก

 ภาคเหนือ ปลูกป่าไม้สักบนที่ดินกรรมสิทธิ์ที่มีทั้งที่ราบขึ้นไปยังที่เนินเขาและภูเขาสูง แล้วแต่ว่าที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เหล่านั้นมีอยู่ที่ดินอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๙๐๐ เมตร ดินไม่เป็นป่าเต็งรังคือดินลูกรังเดิม เพียงแค่นี้ก็ปลูกไม้สักได้แล้ว
                    พ.อ.อ.อนันต์ ผ่องชนะ ปลูกที่เนินเขา
อ.เมือง จ.น่าน การเจริญเติบโตดี คุณสกาวรัตน์ โลหะโชติ ปลูกที่อ.เชียงกลาง จ.น่าน ก็เติบโตดี แม้ว่าที่ดินจะเป็นภูเขาก็ตาม โดยทั่วไปภาคเหนือเหมาะสมเป็นส่วนใหญ่  ส่วนภาคเหนือตอนล่าง ปลูกกันมากเป็นพิเศษเพราะว่าที่ดินมีราคาถูก ปล่อยรกร้างไว้ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ปลูกไม้สักได้ดีเติบโตเร็วมาก ดินอุดมสมบูรณ์พอใช้ได้ ปรับปรุงดินเพิ่มขึ้น ดูแลสวนป่ามากขึ้น ต้นสักก็เลยเติบโตเร็วเช่นกัน เกษตรกรรายเล็กจนถึงรายใหญ่ปลูกกันมาก บางรายคนเดียวปลูกถึง ๒๐๐-1,000 ไร่ แต่ปรากฏว่าน้ำท่วมคราวนี้ซึ่งไม่เคยท่วมมานานกว่า ๑๓ ปี ต้นสักขนาดความสูง ๘ ม. เส้นรอบวงเพียงอก ๒๑ ซม. อายุ ๒ ปี ตายหมดทั้งสวน  
                    ภาคกลาง ปลูกป่าไม้สักบนที่ดินกรรมสิทธิ์ที่เป็นที่ราบจนถึงที่เนินเขา กระทั่งในนาข้าวก็ปลูก ที่ดินเขตภาคกลางไม่ใช่ถิ่นกำเนิดไม้สัก แต่ผลของการทดลองปลูกของ สำนักงานป่าไม้เขต
สระบุรี กรมป่าไม้ ที่ อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี เมื่อ ๒๕ ปีก่อนสวนป่าไม้สักเติบโตได้ดี ดินเป็นดินเหนียวปนดินร่วน ความเป็นกรดด่างปานกลาง น้ำไม่ท่วมถึง ต้นสักปรับตัวได้ดีตามสิ่งแวดล้อม

                     ปัญหาอยู่ที่นาข้าว ปลูกแล้วน้ำท่วมขังหรือไม่หากน้ำท่วมขังต้นไม้สักตายแน่นอน สวนป่าสัก

ทองหลายๆแห่งปลูกได้สวยงามดี ทั้งของเกษตรกรที่ปลูกและสวนป่าสักทองของเอกชนที่จัดสรรที่ดินซึ่งให้ความเอาใจใส่ ในการบำรุงสวนป่าตามหลักวิชาการป่าไม้ และใช้เทคโนโลยี่เข้าช่วยด้วย ความเจริญเติบโตเร็วดีกว่าภาคเหนือ(รัฐ)มากประมาณ ๒.๕ เท่าเป็นอย่างน้อย

                      ก่อนการปลูกได้เตรียมการป้องกันน้ำท่วม ไถปรับพื้นที่ให้น้ำระบายได้ดี ทำคันคูกั้นน้ำรอบ

สวนหรือถมดินจนพ้นน้ำ หรือว่าไม่ทราบข้อมูลอะไรเลย เห็นเขาปลูกได้โตดี ได้เงินช่วยเหลือด้วยก็ลงมือทำ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้สอบสวนแล้วว่า น้ำไม่ท่วมแน่จึงอนุมัติเงินช่วยเหลือได้ แต่เกิดเหตุการณ์สุดวิสัยน้ำท่วมมากผิดปกติ ผิดพลาดไปเช่นนี้ รัฐบาลจะหาทางช่วยเหลือเกษตรกรเหล่านี้ได้อย่างไรบ้างเช่น ตั้งงบประมาณช่วยเหลือสวนป่าน้ำท่วม แจกกล้าไม้ฟรี ให้เงินอุดหนุนเพิ่มฯลฯ

                         ภาคอีสาน ไม้ที่ปลูกป่ากันมากคือไม้สัก ไม้ประดู่และไม้ยางนา ดินเป็นทรายจนถึงทรายจัด ดินเค็มบางเบา ปลูกไม้สักได้ดีพอประมาณ แต่บางจังหวัดที่ดินดีก็ปลูกได้งอกงามมาก เรียกว่าปลูกได้เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายจากการบำรุงสวนป่าสูงกว่าปกติ อุณหภูมิปกติเว้นแต่ทุ่งกุลาร้องไห้เท่านั้นไม้ที่ปลูกรองลงมาคือประดู่ป่าและสะเดาไทย ก็ได้ทราบว่าน้ำท่วมตายที่นครพนมเหมือนกัน

                    ภาคตะวันตก ไม้สักก็เป็นพระเอกในการลงทุน ทั้งเกษตรกรรายย่อยและรายใหญ่ๆ จนถึงสวนป่าสักทองจัดสรรที่ดิน โดยเฉพาะในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี แต่ข่าวว่าน้ำท่วมคราวนี้ไม่ได้รับผลกระทบเพราะว่าปลูกบนเนินเขา นาดอน ปัญหาสำคัญคือ ดินของท้องที่ปลูก_เหมาะสมกับสภาพการปลูกป่าไม้สักเพียงใด เช่นจังหวัดกาญจนบุรีตอนเหนือ(ทองผาภูมิ ศรีสวีสดิ์ ไทรโยค) ดินอุดมสมบูรณ์ ดินลึก ดินเป็นกลาง ปริมาณน้ำฝนมาก ปลูกได้ดีที่สุด

                        พอมาเหลียวดูเขตกาญจนบุรีตอนล่าง(อ.เมือง บ่อพลอย ท่าม่วง พนมทวน ด่านมะขามเตี้ยฯ)

ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายจนถึงดินทรายจัด ระดับน้ำใต้ดินตื้น ปริมาณความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำปริมาณน้ำฝนปานกลาง ปลูกป่าไม้สักกันมาก จัดสรรกันมาก แต่น่าเสียดายว่า ต้นสักไม่เติบโตเท่าที่ควรเลย น้ำจากคลองชลประทานสมบูรณ์ดี ปัญหาอยู่ที่ระดับน้ำใต้ดินตื้นมาก ดินเป็นทรายจัดเกิน_ไป จึงเหมาะสมที่จะปลูกไม้ยูคาลิปตัสมากกว่า หรือปลูกผสมผสานกันไป ฯลฯ

                         ภาคใต้ ก็นิยมปลูกป่าไม้สักมาก แตกกิ่งก้านมากต้องดูแลด้านการตัดแต่งกิ่งมากกว่าปกติ เพราะว่าปริมาณน้ำฝนหนาแน่นเกินไป เช่นเดียวกับภาคตะวันออกซึ่งทั้งสองภาคนี้ปลูกแล้วเติบโตดี แต่ต้องปลูกบนที่ดินเนินเขาจะดีกว่าปลูกในที่ราบ ปลูกไม้สะเดาเทียม ตะเคียนทอง ดีกว่า

                        ธรรมชาติไม้สักชอบดินร่วนจนถึงร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ดินลึกอุดมสมบูรณ์ดี ไม่เป็นดินลูกรัง น้ำฝนเฉลี่ย ๖๐๐-๒,๕๐๐ มม./ปี อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๕-๓๘ องศาเซลเซียส ระดับน้ำใต้ดินปานกลาง ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง ๖.๕-๗.๕ สูงหรือต่ำกว่านี้อาจปรับปรุงได้ด้วยเทคโนโลยี แต่ต้องไม่สูงหรือต่ำมากจนเกินไป เป็นไม้ที่ต้องการแสงสว่างมาก ๗๕-๙๔ %ของแสงกลางวัน ความสูงของที่ดินที่ปลูกสูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๙๐๐ เมตรดีที่สุด มีความลาดเทไม่เกิน 35 องศา 
                        การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติไม้สักเปลี่ยนได้แต่ต้องอยู่ในช่วงที่เหมาะสม(Range)
เช่นดินค่อนข้างเหนียวก็ช่วยให้ร่วนขึ้นได้ น้ำฝนน้อยก็เพิ่มน้ำให้มากขึ้นด้วยการรดน้ำ ฯลฯ

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view