http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,043,044
Page Views16,353,309
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างพระธาตุแสนตอง

 ทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างพระธาตุแสนตอง


                                         ทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างพระธาตุแสนตอง
                                             :ชมศิลปะการฟ้อนนกและฟ้อนลาย   

                                                                                                              ณิชาวดี/เรื่อง นิวัตร/ภาพ

                คุณลุงธรรมนูญ แสงรังษีทอง ชวนไปเที่ยวท่องย่องทำบุญผ้าป่าสามัคคีที่วัดแสนตอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปลายๆเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ติดใจตรงที่วัดนี้ทำไมชื่อแสนตอง แต่เมื่อได้ไปเห็นพระพุทธรูปในอุโบสถแล้วก็หายข้องใจ  และเมื่อได้ทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของทางวัดแล้วก็รู้สึกปลื้มใจที่ได้มีโอกาสมาร่วมสร้างพระธาตุแสนตองกับเขาด้วย งานนี้ มีท่านนายอำเภอลงมาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล ช่วยกันพยุงพุทธศาสนาอย่างเต็มรูปแบบและสวยงามกับภาพฟ้อนนก ฟ้อนลาย อันเป็นศิลปะวัฒนธรรมของชาวล้านนา
ลองตามณิชาวดีไปเที่ยวก็ได้เลยค่ะ

                                                              

                    ท่านนายอำเภอสะเมิง นายสินชัย นาคิน ได้กล่าวต้อนรับญาติโยมจากทั่วสารทิศ พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า อำเภอสะเมิงอยู่ห่างจากนครเชียงใหม่เพียง 45 กม.เท่านั้น การเดินทางเข้าถึงสะดวก และปลอดภัย มีชนเผ่าที่อยู่อาศัยร่วมกันอย่างกลมเกลียวหลายเผ่า อันประกอบด้วย ไทยม้ง ไทยลื้อ ไทยกะเหรี่ยง ไทยล้านนา ฯ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน มองไปทางไหนก็จะเห็นความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ที่นี่คนอยู่อย่างพอเพียง และเก็บป่าไม้ไว้กำบังตนจากความเจริญที่รุกล้ำเข้ามาทุกปีอย่างเหนียวแน่น
                     วันนี้ที่ดีใจมากอยากบอกว่าวัดแสนตองนี้มีประวัติยาวนานคู่กับอำเภอสะเมิง เป็นวัดที่มีคุณค่าต่อวิถีชีวิตของชุมชนคนล้านนา เป็นวัดเก่าแก่ที่พออยู่พอทำบุญกันเพียงในชุมชนอย่างเรียบง่าย ชาวบ้านยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามไว้ได้  วัฒนธรรมการอยู่และการกินยังเป็นวิถีเดิมๆ วัฒนะธรรมการถักทอเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีวัฒนะธรรมการแสดงเช่น การฟ้อนนก และฟ้อนลาย ท่านจะเห็นความสวยงามและความสนุกสนานจากการแสดงอย่างที่ไม่เคยเห็นที่อื่นๆ อันเป็นสิ่งที่ชาวสะเมิงภูมิใจ
                                                                                                                                                                         
                                       
                                                                                   ฟ้อนนก

                                          
                                                                     เครื่องดนตรีประกอบการฟ้อน

                         
                                                             ฟ้อนลายคล้ายฟ้อนลายง้าวของลาว

                     วัดแสนตองตั้งอยู่ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดมหานิกาย พื้นที่วัดแค่ ๕ ไร่ ๓ งาน สันนิษฐานจากใบลานของวัดเชื่อว่าวัดนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๓๐๐ และก็ว่ากันว่าสร้างโดยหม่องอูหน่า ชาวไทยใหญ่ซึ่งได้อพยพมาจากเมืองตวน เมืองหาง ประเทศพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ำสะเมิง อันชาวไทยใหญ่นี่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก  หม่องอูหน่าจึงคิดจะสร้างวัดขึ้น พอขอเรี่ยไรเงินก็ไม่ค่อยมีเงินจึงบริจาคเป็นแก้วแหวนทองคำแทนพอนำมาชั่งได้ถึงแสนตอง(ด้วยเครื่องชั่ง 10 ขีดเป็นหนึ่งพัน) รวมแล้วได้หนึ่งแสนพอดี จึงเป็นที่มาของวัดแสนตอง

                         

                       เมื่อหล่อเป็นพระทองคำ เคยหายไปแต่ก็ได้คืนมาบ้าง ทุกวันนี้หลวงพ่อในอุโบสถจึงถูกจองจำอยู่ในกรงเหล็กแข็งแรงมาก มีการสรงน้ำพระเจ้าแสนตองปีละครั้งคือช่วงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนเก้าเหนือราวๆมิถุนายนของทุกปี   เจ้าอาวาส 12 องค์ องที่ ๑๒ พระอธิการอ้าย จตฺตสงฺวโร (พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๕๑) รูปที่๑๓ พระมนตรี รตนปุตฺโต (พ.ศ.๒๕๕๑ – ปัจจุบัน)

                                                     

                        

                    เมื่อปี พ.ศ.2539 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้นำพระธาตุของพระสีวลีมาถวายที่วัดแสนตองจำนวน 5 องค์ต่อมาปรากฎว่ามีจำนวนพระธาตุเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆและนอกจากนั้นพระธาตุที่เสด็จมาเองล้วนเป็นอรหันธาตุทั้งสิ้นจนถึงทุกวันนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ปีพุทธศักราช 2546 ได้รับเมตตาจากท่านครูบาบุญยัง เจ้าอาวาสวัดห้วยน้ำอุ่นอำเภอลี้ ลำพูน ได้นำพระบรมธาตุมาถวายไว้ที่วัดแสนตอง 

                      

                     และต้นเดือนมีนาคม พ.ศ 2552 หลังจากการประชุมเพลิงพระอธิการอ้าย จัตตสังวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนตอง พระมนตรี รตนปุตโต รักษาการเจ้าอาวาส พร้อมกับคณะศรัทธาวัดแสนตองจึงได้มีความเห็นที่จะสร้างพระธาตุชื่อ "พระธาตุก๊ำปาระมีเด่นสลี้แสนตอง" เพื่อใช้บรรจุพระบรมธาตุและพระอรหันธาตุ และเพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนชนในโอกาสต่อไป
                            
                                                          
                                                            
                                                                          รูปแบบของเจดีย์แสนตอง

                                         
                                                     ปี้ป้าน้าอุ้ยทนเพลงยั่วยวนบ่ไหว มันเปิ้นละ ฮื่ย!!

                         ทุกวันนี้ ทางวัดแสนตองยังรอผู้ใจบุญใจกุศลได้เดินทางไปทำบุญหรือจะโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อสร้างพระธาตุแสนตอง เพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้รับมาเตรียมไว้มากมายหลายสิบองค์ อันถือกันว่า เป็นมหาสิริมงคลยิ่งที่ได้บูชาพระธาตุ ซึ่งก็ดีไม่น้อยนะครับ ในเมื่อเราเป็นผู้ร่วมสร้างพระธาตุไว้ให้พุทธศาสนิกขนได้กราบไหว้แล้ว เราก็ยังวนเวียนไปท่องเที่ยวเชียงใหม่และเข้าไปกราบไหว้ได้เสมอ 
                          วัดแสนตอง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่               มีพระแสนตองศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ อายุวัดนี้กว่า1300 ปี กำลังจะสร้างพระธาตุวัดแสนตอง กำหนดวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 นี้ สนใจร่วมงานติดต่อที่  081-711-1791 http://watsandtong.blogspot.com/
watsandtong@gmail.com 
                           เมื่อเดินทางไปหวังจะทำบุญที่วัดแสนตองแล้วละก้อ มีที่พักและสถานที่รับรองนักท่องเที่ยว ราคาเป็นกันเองมากมายหลากหลายรูปแบบครับ เช่น 
        1.  โครงการหลวงปางดะโครงการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจไม้เมืองหนาว และมีที่พักสำหรับนักท่อง
             เที่ยว อัตราค่าที่พักคืนละ ๘๐ บาท ค่าอาหารเช้า ๕๐ บาท อาหารกลางวัน ๗๐ บาท และอาหารเย็น
             ๘๕ บาท อยู่ห่างจากสถานที่จัดงาน ๓ กิโลเมตร
 
  2  ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงใหม่ ๒ สะเมิงมีสถานที่ท่องเที่ยวคือ ชมแปลงทดลองข้าวสาลี ไร่ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ไม้ดอกเมืองหนาว พืชผักเมืองหนาว และแปลงสตรอเบอรี่ อัตราค่าที่พัก คนละ ๑๐๐ บาท / คืน บ้านพักหลังละ ๑,๕๐๐ บาท มีเต็นท์ขนาด ๒ คน ๑๕๐ บาท/ คืน รับนักท่องเที่ยวได้ ๑๐๐ คน ค่าอาหารและแคมป์ไฟ ติดต่อสอบถามด้วยตนเอง สามารถติดต่อคุณสุวิทย์ มูลศรี หรือเจ้าหน้าที่ เบอร์โทรศัพท์ ๐-๕๓๔๘-๗๐๙๓-๔
3.   อุทยานแห่งชาติขุนขาน หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่สาบ
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางสายสะเมิง- บ่อแก้ว (สวนสตรอเบอรี่) อยู่กลางขุนเขาสามารถตั้งเต้นท์ได้ มีที่พักที่สะอาด สวยงาม มีน้ำพุร้อน และบ่อน้ำอุ่นธรรมชาติที่สวยงามเงียบสงบ ติดต่อ โทรศัพท์ ๐๑-๗๒๔๐๖๙๕
4.  น้ำพุร้อนโป่งกวาว รีสอร์ทแอนด์สปา หมู่ที่ ๓ ตำบลสะเมิงเหนือ
มีน้ำพุร้อนธรรมชาติ สามารถอาบน้ำแร่ บริการนวดฝ่าเท้า อบสมุนไพร มีบ้านพักบริการ ๖ ห้อง ๆ ละ ๑,๕๐๐ บาท/ ๕ คน อาบน้ำแร่ฟรีพร้อมอาหารเช้า ค่าเช่าเต้นท์คนละ ๒๕๐ บาท
5.   สะเมิงรีสอร์ท หมู่ที่ ๒ ตำบลสะเมิงใต้
สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ ๕๐-๖๐ คนราคาค่าที่พักบังกะโล ๓๐๐ บาทและ ๕๐๐ พักได้ ๒-๓ คน , บ้านพักหลังใหญ่๓,๐๐๐ บาท / คืน พักได้ ๑๐-๑๕ คน , บ้านพักขนาดกลาง ๒,๐๐๐ บาท / คืน พักได้ ๘-๑๐ คน บ้านพักขนาดเล็ก ๑,๐๐๐ บาท/ คืน พักได้ ๔-๕ คน มีห้องอาหาร และบรรยากาศรีสอร์ท อยู่ห่างจากสถานที่จัดงานประมาณ ๓ กิโลเมตร ติอต่อคุณอารีวัลย์ จินดาแดง ๐-๕๓๔๘-๐๗๔-๕

                                      

                                          ช่างภาพมติชนและเว็บทองไทยแลนด์ดอทคอม

Tags : Religion Land Tour

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view