http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,043,819
Page Views16,354,120
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จากพระเจ้าตนหลวง-พระธาตุจอมทอง... เอะ!? โดยทิดท้วม

จากพระเจ้าตนหลวง-พระธาตุจอมทอง... เอะ!?            โดยทิดท้วม

                            
                                          จากพระเจ้าตนหลวง-พระธาตุจอมทอง... เอะ!? 
         
                                                                                                                                โดยทิดท้วม

                  ถ้าได้ไปเยี่ยมย่องท่องเที่ยวถึงกว๊านพะเยา แล้วไม่ได้ไปท่องแดนแผ่นดินธรรมที่ชื่อวัดศรีโคมคำแล้วละก้อ เสียเที่ยว  เพราะว่าไปตั้งไกลกว่า 650 กม. วัดตั้งอยู่ริมกว๊านด้านเหนือ มีถนนสายหลักของพะเยาพาดผ่าน เป็นวัดหลวงชั้นตรีที่โด่งดังมาก ด้วยว่าพระเจ้าตนหลวงองค์โตนั้นงามยิ่งนัก เป็นศิลปะที่แทบจะไม่น่าเชื่อเลยว่า มีและอยู่ มานานคู่บ้านคู่เมืองพะเยาเชียว

                                    


                  ยิ่งกว่านั้น เฉียงกัน มีวัดจอมทองตั้งอยู่บนดอยลูกเดียวของเมืองพะเยา ซึ่งว่ากันว่า เป็นพระธาตุจอมทองที่มีบันทึกประวัติเก่าแก่ ว่าที่นี่แหละที่คนเกิดปีชวดควรมากราบไหว้ เอะ!! ก็ไหนว่า วัดศรีจอมทอง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ก็มีพระธาตุจอมทองเหมือนกันแล้วคนเกิดปีชวดก็ควรไปกราบไหว้  ตกลงคนเกิดปีชวดอย่างท้วมจะทำยังไงกันดีหรือ  หรือว่าไปกราบเสียทั้งสองเลย  
                  ใครรู้ช่วยตอบที ท้วมอยากรู้อ้ะ 


                         


                   ด้วยรถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้าง สามล้อยุคใหม่ของเมืองพะเยา วิ่งนำไปยังวัดพระเจ้าตนหลวง หรือวัดศรีโคมคำ ภาพที่เห็นแปลกตาไปมากทีเดียว บริเวณหน้าวัดสอาดเอี่ยม แม่ค้าสัตว์ปล่อยทั้งหลายหายไปอยู่ฝั่งตรงข้ามหมด เหลือเพียงศาลาขายดอกไม้ธูปเทียนหลังเดียว เอ้า วัดอื่นๆดูแบบอย่างไว้ด้วยเลย   มีนักเรียนเดินเรียงกันเข้าไปกราบไหว้ ครูสองสามคนเดินขนาบข้างอย่างเคร่งครัด

                                     

                   ผมเดินเข้าไปกราบหลวงพ่อพระเจ้าตนหลวง หรือบางทีก็เรียกว่าพระเจ้าองค์หลวง ท่านนั่งขัดสมาธิในท่าปางมารวิชัยสงบงาม  พระเนตรมองต่ำด้วยแววตาเมตตา นึกฉงนนิดๆว่าทำไมองค์พระนั่งจมลงไปในพื้นดินนัก แต่มาคิดอีกที อาจจะเพราะว่าเมื่อแรกคงจะสร้างต่ำ เมื่อมายกพื้นบูรณะกันหลายรอบพื้นจึงสูงขึ้นๆ จนดูเหมือนท่านนั่งอยู่ในหลุมทีเดียว 

              

                    ผมเดินออกจากโบสก์ วนไปรอบๆบริเวณระเบียงแก้ว ได้เห็นภาพจับใจ พระศิลาทรายมากมายหลากหลายรูป เรียงไว้เป็นระเบียบ แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่มีป้ายสื่อความหมายใดๆอธิบายได้เลยว่า เป็นเศียรพระสมัยไหน หรือศิลปะอะไร ทิดท้วมน่ะบวชเรียนในพุทธศาสนา แต่ก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องศิลปะต่างๆเลย เหมือนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ก็คงไม่มีความรู้เช่นกัน ใครก็ได้ ช่วยให้ความรู้ด้วยเถอะ 

              

                     แต่พอแหงนไปดูเชิงชายหลังคาอุโบสถ นึกเอะใจ คันทวยวัดนี้แปลกๆ พินิจดูจึงรู้ว่า นั่นรูปหนุมานมั้ง เล่นสารพัดท่าร่ายรำตามตำราโขน เป็นเอกลักษณ์ที่งดงามและไม่เหมือนวัดไหนๆ นี่ก็อีกนั่นแหละ ไม่รู้อีกว่าท่าอะไรบ้าง โอย เจ้าท้วมคนโง่ อะไรๆก็ไม่รู้ๆ  แต่ยอมรับนะครับว่า คันทวยของวัดนี้ให้อารมณ์ศิลปะมากเลย ดูไปดูมา เออ เข้าท่าแฮะ ผมเดินออกจากอุโบสถ ผ่านไปเห็นวิหารอนุสรณ์ ครูบาศรีวิชัย   หน้าบัoสลักลวดลายไว้สวยงาม เสาและกรอบประตูหน้าต่างแพรวพราว

             

                     แผ่นป้ายสื่อความหมายที่ตั้งไว้หน้าอุโบสถ อ่านยาก แต่ก็ได้เว็บไซด์ช่วยให้ได้ขู้อมูลว่า พ.ศ.2034(จ.ศ.853) เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ วันพุธ ได้ยกเสาอินทขิล(เสากระดูกสันหลังพระพุทธรูป) เป็นช่วงสมัยที่พระยาเมืองยี่ครองเมืองพยาว ส่วนพระยายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ ได้ให้ตากับยายเป็นผู้ก่อสร้างพระพุทธรูปเจ้าตนหลวง กำลังสร้างได้ 4 ปี พระยาทั้งสองเมืองก็เสด็จสวรรคตพร้อมกัน 



                      พระเมืองแก้วผู้ราชบุตรขึ้นครองเมืองเชียงใหม่สืบต่อมา ส่วนเมืองพยาวได้โอรสพระยาเมืองยี่ชื่อพระยาหัวเคียนขึ้นครองราชสืบมา  สองตายายยังคงสร้างพระพุทธรูปเจ้าตนหลวงอีก 20 ปี ก็ยังไม่เสร็จ พระยาหัวเมืองเคียนก็มาสวรรคตเสียอีก จึงได้พระเมืองตู้ราช โอรสพระยาหัวเคียนครองเมืองพยาวสืบมา สองตายายก็ยังคงสร้างพระเจ้าตนหลวงจนถึง พ.ศ.2067 เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จึงแล้วเสร็จ  ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน 33 ปี พระยาเมืองตู้จึงได้แจ้งราชสาส์นไปยังเมืองเชียงใหม่ให้พระเมืองแก้วทราบ  


               


                        พระองค์ทรงทราบแล้วก็ดีใจจึงได้พระราชทานราชทรัพย์ทองคำ 3,000 เงิน 6,000 พร้อมชื่อพระพุทธรูปว่า   
พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพยาว  พร้อมกันนั้น เจ้าผู้ครองนครทั้งสองจึงได้ให้ราษฏร มาองค์ละ 10 ครอบครัวมาอยู่รอบวัด และได้หมายแนวเขตวัดดังนี้คือ ทิศเหนือจดพระธาตุดอยจอมทอง  ทิศใต้ติดกับวัดอุ่นหล้า(จมน้ำไปแล้ว) ทิศตะวันออกจากวัดอุ่นหล้า 1,000 วา และทิศตะวันตก 500 วา เป็นเขตอภัยทานแก่สัตว์ทั้งปวง  แหม ป้ายสื่อความหมายนี่ช่างดีจริงๆ บันทึกเรื่องเล่าได้มากมาย เยี่ยมๆๆ

                                


                     ถัดไปเป็นหอไตรรูปลักษณ์น่าจะศิลปะล้านนา หรือไม่ก็พม่า หรือไม่ก็ไทยใหญ่ ท้วมเดาไปเรื่อยแหละ เพราะว่าไม่มีป้ายสื่อความหมายใดๆอีกเหมือนกัน เอาเป็นว่ามีให้ชมดูสวยงามหลายอย่างก็แล้วกัน เลยไปอีกนิดเดียวเป็นแดนนรกและสวรรค์ น่ากลัว และน่าชื่นชม ข้างๆกำแพงวัดมีศาลสองตายายที่มีคำกล่าวถึงในตำนานพระเจ้าตนหลวง ยัง  ยังไม่หมด ผมเลี้ยวกลับไปตามถนนหน้าอุโบสถ มีหอไตรที่คุณขรรค์ชัย  บุญปาน เจ้าของ นสพ.มติชน เป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น จุดนี้ดี มีป้ายสื่อความหมายเล่าเรื่องราวยาวเลย ขอบคุณจริงๆ

                                   

                      ออกจากวัดศรีโคมคำด้วยรถมอเตอร์ไซด์พ่วงข้างคันเดิม มุ่งไปยังดอยวัดพระธาตุจอมทอง ซึ่งเป็นดอยลูกเดียวของเมืองพะเยา มีถนนลาดยางอย่างดี ต้นไม้เต็มภูเขา ผมเดินขึ้นบันไดนาคช้าๆ ด้วยว่าชักจะหิวข้าวกลางวันเต็มที แต่เมื่อได้เห็นองค์พระธาตุจอมทองกับอุโบสถแล้วสัมผัสได้ว่า สวย สง่างาม โดดเด่น และน่าจะเป็นพระธาตุจอมทองที่คนเกิดปีชวดตามหา......!! 

                                 

                       เหลียวกลับมาถามมัคทายกวัดจอมทอง คุณลุงหนานคำหล้า  จิตรแข็ง  นั่งขายดอกไม้ธูปเทียนสำหรับไหว้พระอยู่ข้างประตูทางเข้า หนานคำหล้าอยู่บ้านเลขที่ 82/10 ม.1 บ้านจอมทอง ตำบลเวียง จังหวัดพะเยา เล่าว่า กาลครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จมาถึงเมืองพะยาว ได้พระราชทานเส้นพระเกศาธาตุแก่พระเจ้าอโศก แต่พระเจ้าอโศกได้ทรงพระราชทานแก่นายช่างทองผู้ซึ่งได้ถวายภัตาหารแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า 


                                                

                      เส้นพระเกศาธาตุที่ได้มานั้น นายช่างทองจึงได้นำไปฝังลงในบ่อลึกกว่า 70  เมตร แล้วสร้างเจดีย์อำพรางไว้ ต่อมาครูบาศรีวิชัย ครูบาแก้ว และครูบาปัญญา ทั้ง 3 ท่านรู้ดีกว่าผู้อื่นๆ ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุขึ้นใหม่ ตราบจนทุกวันนี้ 
                      ข้อกังขา ระหว่างวัดจอมทอง พะเยา กับวัดศรีจอมทอง เชียงใหม่ วัดไหนที่มีพระธาตุจอมทองที่คนเกิดปีชวดควรไปกราบไหว้ กันแน่ ใครรู้ช่วยตอบทีเถอะ อ่านที่ป้ายของวัดก็อ้างว่า เป็นพระธาตุจอมทองแห่งนี้แหละของจริง ใครมีหน้าที่ช่วยหน่อย  แต่ไม่ว่าจะเป็นพระธาตุองค์ไหน หากเลื่อมใสและกราบไหว้ไว้ก่อนก็น่าจะได้กุศลในใจของเราอยู่ดี อย่างไรก็ตาม มาพะเยาแล้วได้กราบไหว้ทั้งพระเจ้าตนหลวง วัดศรีโคมคำ แล้วเลยไปกราบพระธาตุจอมทอง บนดอย ได้บุญกุศลนำส่งแน่นอน

                                              

                       บนดอยวัดจอมทอง ถ้ามีการสร้างหอคอยสูงๆแบบเมืองสุพรรณบุรี น่าจะช่วยให้มองเห็นกว๊านพะเยาสวยอลังการทีเดียว โดยเฉพาะจะกลายเป็นจุดขายให้ขึ้นไปชมวิวทิวทัศน์เมืองพะเยาได้อย่างดี แต่ก็นั่นแหละ เมืองนี้ไม่ใช่บรรหารบุรี ก็อาจจะได้แต่ฝันลมๆแล้งๆไปเอง ปัทโธ่ ก็แค่เขยพะเยาเมืองกว๊านใหญ่ จะทำอะไรได้กันเล่า   ซ้ำยังเท่าชะแรแก่ชราลงไปทุกวัน เดินเล่นรอบกว๊านรอบเดียวยังหอบแทบตาย                        

                                                 
                     

Tags : Religion Land Tour

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view