http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,266,649
Page Views16,592,404
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484

พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484

 

พระราชบัญญัติป่าไม้

พุทธศักราช ๒๔๘๔

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐)

อาทิตย์ ทิพอาภา

พล.อ.พิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔

เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป่ าไม้ ให้เหมาะสมแก่การสมัยยิ่งขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้

บทบัญญัติทัว่ ไป

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติป่ าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔"

มาตรา ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๕เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก

(๑) ประกาศพระบรมราชโองการว่าด้วยภาษีไม้ขอนสักแลไม้กระยาเลย ลงวันอาทิตย์ เดือนสี่ แรมแปดคํ่า ปี

จอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖

(๒) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องซื้อขายไม้ขอนสัก ลงวันพุธ เดือนเก้า ขึ้นคํ่าหนึ่ง ปีวอก นพศก จุล

ศักราช ๑๒๔๖

(๓) ประกาศพระบรมราชโองการเรื่องไม้ขอนสัก ลงวันอาทิตย์ เดือนเจ็ด ขึ้นคํ่าหนึ่ง ปีกุน นพศก จุลศักราช

๑๒๔๙

(๔) ประกาศพระบรมราชโองการเพิ่มเติมเรื่องขอนไม้สัก ลงวันจันทร์ เดือนสิบเอ็ด แรมหนึ่งคํ่า ปี กุน นพศก

จุลศักราช ๑๒๔๙

(๕) พระราชบัญญัติไม้ซุงและไม้ท่อนที่ดวงตราลบเลือน ร.ศ.๑๑๕

(๖) พระราชบัญญัติประกาศการรักษาป่ าไม้ ร.ศ.๑๑๖

(๗) พระราชบัญญัติรักษาต้นไม้สัก ร.ศ.๑๑๖

(๘) พระราชบัญญัติป้ องกันการลักลอบตีตราไม้ ร.ศ.๑๑๗

(๙) พระราชบัญญัติป้ องกันการลักลอบชักลากไม้สัก ที่ยังมิได้เสียค่าตอแลภาษี ร.ศ.๑๑๘

(๑๐) กฎกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยไม้ไหลลอย ร.ศ.๑๑๙

(๑๑) กฎข้อบังคับอนุญาตไม้สักใช้ในการปลูกสร้างที่ทำราชการแล การสาธารณประโยชน์ ร.ศ.119

(๑๒) พระราชบัญญัติรักษาป่า พุทธศักราช ๒๔๕๖

(๑๓) กฎข้อบังคับวางระเบียบวิธีจัดการรักษาป่ าไม้ พุทธศักราช ๒๔๕๖

(๑๔) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่ า ว่าด้วยการเก็บรวงผึ้ง พุทธศักราช ๒๔๖๔

(๑๕) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่ า ว่าด้วยการเจาะเผาต้น ตะเคียนทำชันในมณฑลปัตตานี

พุทธศักราช ๒๔๖๕

(๑๖) กฎข้อบังคับวางระเบียบการหาของป่ า ว่าด้วยการเจาะ เผา ทำ น้ำมันยาง พุทธศักราช ๒๔๖๕

(๑๗) พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติพิกัดภาษีภายใน พุทธศักราช ๒๔๗๐ เฉพาะมาตรา ๔ (ก) และ (ข)

(๑๘) พระราชบัญญัติรักษาป่า (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๗๙

(๑๙) พระราชบัญญัติควบคุมการทำยางสน พุทธศักราช ๒๔๘๐

(๒๐)บรรดาบทกฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นๆในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งแย้งกับบท

แห่ง พระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

(๑)๑ "ป่า" หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน

(๒) "ไม้" หมายความว่า ไม้สักและไม้อื่นทุกชนิด ที่เป็นต้น เป็นกอ เป็นเถา รวมตลอดถึงไม้ไผ่ทุกชนิด ปาล์ม

หวาย ตลอดจนราก ปุ่ม ตอ เศษปลายและกิ่งของสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะได้ถูกตัดตอนเลื่อยผ่าถากขุดหรือกระทำโดยประการ

อื่นใด

(๓)๒"แปรรูป"หมายความว่าเลื่อยหรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ให้เปลี่ยนรูปหรือขนาดไปจากเดิม

นอกจากการ ลอกเปลือกหรือตกแต่งอันจำเป็นแก่การชักลาก

(๔)๓"ไม้แปรรูป"หมายความว่าไม้ที่ได้แปรรูปแล้วแต่ไม่หมายถึงไม้ที่ได้ทำเป็นเครื่องใช้หรือสิ่งของอื่นหรือ

ประกอบ เข้ากับเครื่องใช้หรือสิ่งของอื่นแล้ว

(๕)๔"ทำไม้"หมายความว่าตัดฟันกานโค่นลิดเลื่อยฝาถากทอนขุดชักลากไม้ในป่ าหรือนำไม้ออกจากป่ าด้วย

ประการ ใด ๆ

(๖) "ไม้ไหลลอย" หมายความว่า ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดาน ซึ่งเป็นไม้

หวงห้าม ที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม

(๗)๕ "ของป่ า" หมายความว่า บรรดาของที่อยู่ในป่ าตามธรรมชาติ คือ

ก. ไม้ รวมทั้งส่วนต่าง ๆ ของไม้ ถ่าน น้ำมันไม้ ยางไม้ ตลอดจน สิ่งอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากไม้

ข. พืชต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากพืชนั้น

ค. รังนก ครั่ง รวงผึ้ง น้ำผึ้ง มูลค้างคาว

ง. แร่ น้ำมันแร่

(๘) "ไม้ฟืน" หมายความว่า บรรดาไม้ที่มีลักษณะและคุณภาพเหมาะสม ที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงยิ่งกว่าจะใช้

ประโยชน์อย่างอื่น

(๙) "ชักลาก" หมายความว่า การนำไม้หรือของป่ าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยกำลังแรงงาน

(๑๐) "นำเคลื่อนที่" หมายความว่า ชักลาก หรือทำให้ไม้หรือของป่ าเคลื่อนจากที่ไปด้วยประการใด ๆ

(๑๑)6"ขนาดจำกัด"หมายความว่าขนาดโตของต้นไม้ซึ่งกำหนดตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยวัดรอบลำ

ต้นตรง ที่สูง ๑ เมตร ๓๐ เซนติเมตร ตามลำต้นจากพื้นดิน

(๑๒)"ค่าภาคหลวง"หมายความว่าเงินค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ทำไม้หรือเก็บหาของป่ าจะต้องเสียตามความในพระ

ราชบัญ ญัตินี้

(๑๓) "โรงงานแปรรูปไม้" หมายความว่า โรงงานหรือสถานที่ใดซึ่งจัดขึ้นไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้รวมถึง

บริเวณโรงงาน หรือสถานที่นั้น ๆ ด้วย

(๑๔) "โรงค้าไม้แปรรูป" หมายความว่า สถานที่ที่ค้าไม้แปรรูป หรือ ที่มีไม้แปรรูปไว้เพื่อการค้ารวมถึงบริเวณ

สถานที่ ◌่ นั้น ๆ ด้วย

(๑๕) "ตราประทับไม้" หมายความว่า วัตถุใดอันประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เกิดเป็นรูปรอยหรือเครื่องหมายใดๆ

นอกจากรูปรอย ที่เป็นตัวเลข ไว้ที่ไม้ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมแห่งพระราชบัญญัตินี้

(๑๖)"พนักงานเจ้าหน้าที่"หมายความว่าเจ้าพนักงานป่ าไม้พนักงานป่ าไม้หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้มี

หน้าที่ดำเนิน ตามพระราชบัญญัตินี้

(๑๗) "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา๕ พระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ให้คัดสำเนา

ประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและที่ทำการกำนันหรือที่สาธารณสถานในท้องที่ซึ่งเกี่ยวข้อง

----------------------------------------------------------

(๑)มาตรา ๔ (๒)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๓

(๒)มาตรา ๔ (๓)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๓

(๓)มาตรา ๔(๔)แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๑๖ พ.ศ.๒๕๑๕ ข้อ ๑

(๔)มาตรา ๔ (๕)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๔

(๕)มาตรา ๔ (๗)แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕

(๖)มาตรา ๔(๑๑) แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๖

หมวด ๑

การทำไม้และเก็บหาของป่ า

ส่วนที่ ๑ การกำหนดไม้หวงห้าม ค่าภาคหลวงและขนาดจำกัด

มาตรา ๖ ไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ได้แก่ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับ

อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ ได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ได้แก่

ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวนซึ่ง ไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่ รัฐมนตรีจะได้อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

มาตรา ๗ () ไม้สักในป่ าทั่วราชอาณาจักรเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้อื่นในป่ าท้องที่ใดจะเป็นไม้หวงห้าม

ประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา๘() การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนชนิดไม้หรือเปลี่ยนแปลงประเภทไม้หวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา

กำหนดไว้แล้วก็ดี หรือจะกำหนดไม้ชนิดใดให้ เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราช

กฤษฎีกา กำหนดตามความในมาตราก่อนแล้วนั้นก็ดีให้กำหนดโดย พระราชกฤษฎีกาพระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตาม

ความในมาตรานี้ ให้ใช้บังคับได้เมื่อ พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๙ () ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดอัตราค่าภาคหลวงดั่งต่อไปนี้ สำหรับการทำไม้สัก ให้กำหนดเป็น

ราย ๆ ไป แต่ไม่เกินกว่าเมตรลูกบาศก์ละ สิบห้าบาท สำหรับการทำไม้อื่นให้กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ตามชนิด ของไม้เป็นท้องที่ ๆ ไป แต่ไม่เกินกว่าเมตรลูกบาศก์ละสิบบาท

มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดขนาดจำกัดไม้หวงห้ามโดย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา --------------

-------------------------------------------- (๗) มาตรา ๗ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๗ (๘) มาตรา

๘ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๘ (ไม่มีความใหม่แทน) (๙) มาตรา ๙ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้

(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๙

ส่วนที่ ๒

การทำไม้หวงห้าม

มาตรา๑๑(๑๐) ผู้ใดทำไม้หรือเจาะหรือสับหรือเผาหรือทำอันตรายโดยประการใดๆแก่ไม้หวงห้ามในป่ าต้อง

ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด

ในกฎ กระทรวงการอนุญาตนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้วจะอนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้รับ

อนุญาต เสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาล ตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้

มาตรา๑๒ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำไม้ที่ไม่มีรอยตราอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ประทับไว้เว้นแต่จะได้มี

ข้อความระบุอนุญาตไว้ในใบอนุญาต

มาตรา๑๓(๑๑) ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำไม้ที่มีขนาดตํ่ากว่าขนาดจำกัดนอกจากมีรอยตราอนุญาตของ

พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับไว้ หรือมีข้อความระบุอนุญาตไว้ในใบอนุญาต

มาตรา ๑๔ (๑๒) ผู้รับอนุญาตทำไม้ต้องเสียค่าภาคหลวงตามที่กำหนดไว้ ดั่งต่อไปนี้

(๑) ต้องชำระค่าภาคหลวงล่วงหน้าท่อนหรือต้นละห้าสิบสตางค์เมื่อรับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เว้น

แต่ในท้อง ที่ใดที่คณะกรมการจังหวัดได้ประกาศโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ให้งดเว้นไม่ต้องเรียกเก็บเงิน

ค่าภาคหลวงล่วงหน้าหรือให้ลดค่าภาคหลวงล่วงหน้าลงจากอัตราที่กำหนดนี้ก็ให้เป็นไปตามประกาศของ

คณะกรรมการจังหวัดนั้น ๆ

การทำไม้สัก ผู้รับอนุญาตจะต้องชำระค่าภาคหลวงล่วงหน้าตามอัตราที่ คณะกรรมการจังหวัดได้ประกาศโดย

รับอนุ มัติจากรัฐมนตรีหรือตามอัตราที่รัฐมนตรีกำหนดเป็นรายๆไปการทำไม้ฟืนหรือทำไม้เผาถ่านไม่ต้องเสีย

ค่าภาคหลวงล่วงหน้า

(๒) ต้องชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งจำนวน

ค่าภาคหลวงสำหรับไม้นั้นให้ทราบถ้าผู้รับอนุญาตไม่ชำระค่าภาคหลวงให้เสร็จสิ้น ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวในวรรค

ก่อน ให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเว้นแต่ผู้รับอนุญาตจะได้รับอนุญาตให้ผัดผ่อนการชำระค่าภาคหลวงต่อไปตาม

ข้อกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๑๕(๑๓) การชำระค่าภาคหลวงสำหรับไม้หวงห้ามชนิดใดถ้าผู้รับอนุญาตขอชำระในเมื่อไม้นั้นได้แปร

รูปหรือได้เผาเป็ นถ่านแล้ว ต้องชำระตาม ปริมาตรของไม้แปรรูปหรือถ่านไม้ในอัตราสองเท่าค่าภาคหลวงที่กำหนดไว้

สำหรับไม้ชนิดนั้น ๆ

มาตรา๑๖ ค่าภาคหลวงล่วงหน้าทั้งสิ้นที่ชำระไว้แล้วตามความในมาตรา๑๔(๑)นั้นให้นำมาหักลบกันกับ

ค่าภาคหลวงไม้ที่ทำออก ยังขาดเท่าใดให้เรียก เก็บจนครบ ถ้าผู้รับอนุญาตทำไม้ออกมาไม่ครบตามจำนวนตาม

ใบอนุญาต โดยมิใช่ เพราะเหตุสุดวิสัย ซึ่งคำนวณค่าภาคหลวงแล้วยังไม่ถึงจำนวนเงินค่าภาคหลวง ล่วงหน้าที่ได้ชำระ

ไว้แล้วค่าภาค หลวงล่วงหน้าส่วนที่เกินให้ตกเป็นของรัฐบาลถ้าผู้รับอนุญาตไม่ได้ทำไม้ออกมาเลยตามใบอนุญาตโดย

มิใช่เพราะเหตุ สุดวิสัย หรือกระทำผิดจนถูกเพิกถอนใบอนุญาต ค่าภาคหลวงล่วงหน้าทั้งสิ้นให้ตกเป็นของรัฐบาล

มาตรา ๑๗ บทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีดั่งต่อไปนี้

(๑) พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่ า การค้นคว้าหรือการทดลองในทางวิชาการ

(๒) ผู้เก็บหาเศษไม้ปลายไม้ตายแห้งที่ล้มขอนนอนไพรอันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน ซึ่งมิใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้าม

ประเภท ข. ไปสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนแห่งตนหรือประกอบกิจของตน

มาตรา๑๘(๑๔) การทำไม้หวงห้ามก็ดีขนาดจำกัดก็ดีอัตราค่าภาคหลวงก็ดีซึ่งได้กำหนดขึ้นไว้แล้วนั้นถ้า

รัฐมนตรีเห็นว่ามีกรณีพิเศษเกิดขึ้น ก็ให้มีอำนาจ อนุญาตแตกต่างจากข้อกำหนดเป็นการชั่วคราวได้

----------------------------------------------------------

(๑๐) มาตรา ๑๑ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๖

(๑๑) มาตรา ๑๓ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๒

(๑๒) มาตรา ๑๔ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๗

(๑๓) มาตรา ๑๕ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๘

(๑๔) มาตรา ๑๘ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๔

ส่วนที่ ๓

การยกเว้นค่าภาคหลวง (๑๕)

มาตรา ๑๙ นอกจากไม้สัก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตให้ทำไม้ โดยยกเว้นค่าภาคหลวงได้ดั่ง

ต่อไปนี้

(๑) เพื่อใช้สอยส่วนตัวสำหรับการปลูกสร้างหรือการเปลี่ยนแปลงต่อเติมบ้านเรือน ไม่เกินครอบครัวละสิบ

แปดบาท แต่ถ้าการปลูกสร้างหรือการเปลี่ยน แปลงต่อเติมบ้านเรือน เพื่อให้เป็นไปตามแผนผังและแบบก่อสร้างที่ทาง

ราชการ ได้กำหนดขึ้นไว้สำหรับราษฎร ให้ยกเว้นได้ไม่เกินครัวเรือนละสี่สิบบาท

(๒) เพื่อใช้สอยส่วนตัวสำหรับเครื่องมือหรือสิ่งอื่นที่ใช้ประกอบหรือเกี่ยวเนื่องในการกสิกรรมและการเลี้ยง

สัตว์หรือ การประมงหรือทำรั้วเพื่อป้ องกันภยันตราย อย่างละไม่เกินครัวเรือนละสิบสองบาท

(๓) เพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนเห็นสมควร ตามปริมาณแห่งความ

จำเป็น

มาตรา๒๐ การยกเว้นค่าภาคหลวงตามความในมาตรา๑๙(๑)และ(๒)นั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา

อนุญาตตามควรแก่ความจำเป็ น และไม่ให้เกินครัวเรือนละหนึ่งครั้งภายในระยะสิบปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตครั้ง

สุดท้าย แต่ถ้าเป็นการซ่อมแซมสิ่งชำรุดให้ยกเว้นค่าภาคหลวงได้ไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนค่าภาคหลวงที่ได้รับยกเว้น

ตามความในมาตราก่อนและการซ่อมแซมนั้นให้ยกเว้นได้ไม่เกินปีละหนึ่งครั้งบทบัญญัติในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับใน

กรณีที่มีการชำรุดเสียหายโดยภยันตรายอันเป็นเหตุสุดวิสัย

มาตรา ๒๑ ผู้ที่จะรับประโยชน์ได้ตามความในสองมาตราก่อน ต้องเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไม่

ห่างจาก ที่ที่จะทำไม้เกินกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตร และต้องรับรองว่าจะใช้ไม้ทำประโยชน์ตามที่ได้รับอนุญาต ภายใน

ราชอาณาจักรไม่ห่างจากที่ที่ทำไม้เกินกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตร

มาตรา ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตตามความในส่วนนี้จะใช้ไม้ในกิจการอื่นใดผิด ไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือ

ผิดจากคำ รับรองตามความในมาตรา ๒๑ หรือ โอน หรือจำหน่ายไม้นั้นโดยประการใดหาได้ไม่ เว้นแต่จะได้รับ

อนุญาตจาก พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ หรือได้เสียค่าภาคหลวงตามอัตราเสียก่อน ทั้งนี้ไม่หมายถึงการใช้เศษไม้ที่

เหลือเพื่อ กิจการส่วนตัว

มาตรา ๒๓ ผู้ใดรับอนุญาตตามความในส่วนนี้ ต้องใช้ไม้ทำประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้เสร็จ

ภายในกำหนด สองปี นับแต่วันใบอนุญาตสิ้นอายุมิฉะนั้นผู้รับอนุญาตต้องเสียค่าภาคหลวงตามอัตรา ในจำนวนไม้ที่

ยังไม่ได้ใช้ทำ ประโยชน์และต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่ระยะเวลาดั่งกล่าวนั้นสิ้นสุดลง

มาตรา ๒๔ คณะกรมการจังหวัดโดยอนุมัติจากรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศเว้นไม้หวงห้ามบางชนิดจากการ

อนุญาต โดยยกเว้นค่าภาคหลวงหรือกำหนดปริมาณและชนิดไม้ที่จะพึงอนุญาตให้ทำไม้ได้โดยยกเว้นค่าภาคหลวงตาม

ความในส่วนนี้

----------------------------------------------------------

(๑๕) ความในส่วนที่ ๓ มาตรา ๑๙ ถึง ๒๔ ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๗ (ไม่มีความ

ใหม่แทน)

ส่วนที่ ๔

ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้าม

มาตรา๒๕(๑๖)ไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามซึ่งบุคคลทำไม้หรือเจาะหรือสับหรือเผาได้โดยไม่ต้องรับอนุญาตรวมทั้ง

ถ่านที่เกิดจากไม้นั้น เมื่อผู้ใดนำล่วงด่าน ป่ าไม้ ต้องเสียค่าภาคหลวง

บทบัญญัติในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับในกรณีที่บุคคลนำเศษไม้ปลายไม้หรือไม้ฟืนล่วงด่านป่ าไม้เพื่อใช้สอยใน

บ้านเรือนแห่งตน

มาตรา ๒๖(๑๗) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนด อัตราค่าภาคหลวงสำหรับไม้หรือ

ถ่านที่ต้อง เสียตามความในมาตราก่อนขึ้นไว้เฉพาะด่านป่ าไม้ได้ แต่อย่างสูงต้องไม่เกินเมตรลูกบาศก์ละสองบาท

----------------------------------------------------------

(๑๖) มาตรา ๒๕ บัญญัติขึ้นโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๕

ส่วนที่ ๕

ของป่ าหวงห้าม

มาตรา ๒๗ ของป่ าอย่างใดในท้องที่ใดจะให้เป็นของป่ าหวงห้าม ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา๒๘ การเพิ่มเติมหรือเพิกถอนของป่ าหวงห้ามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้แล้วก็ดีหรือจะกำหนด

ของป่ าอย่างใดให้เป็นของป่ าหวงห้ามขึ้นในท้องที่ใด นอกจากท้องที่ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดตามความในมาตรา

ก่อน แล้วนั้นก็ดี ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

พระราชกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นตามความในมาตรานี้ ให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๙(๑๘) ผู้ใดเก็บหาของป่ าหวงห้าม หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ของป่ าหวงห้ามในป่ าต้อง

ได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้และต้องเสียค่าภาคหลวงกับทั้ง

ต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงการอนุญาตนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีแล้ว จะ

อนุญาตให้ผูกขาดโดยให้ผู้รับอนุญาตเสียเงินค่าผูกขาดให้แก่รัฐบาล ตามจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนดก็ได้

มาตรา๓๐(๑๙) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดอัตราค่าภาคหลวงไม่เกินร้อยละ

สิบแห่งราคาตลาดในราชอาณาจักร ซึ่งเฉลี่ยจากราคาแห่งของป่ าหวงห้ามอย่างนั้น ๆ

มาตรา ๓๑ ในท้องที่ใดที่ได้กำหนดรวงผึ้งเป็นของป่ าหวงห้าม ห้ามมิให้ผู้ใดแม้จะเป็นผู้รับอนุญาตหรือผู้รับ

สัมปทาน เก็บหาของป่ า ตัดหรือโค่นต้นยวงผึ้ง หรือต้นไม้ที่ผึ้งทำรังอยู่ หรือทำอันตรายด้วยประการใดแก่ต้นไม้ที่กล่าว

แล้ว โดย ไม่จำเป็นแก่การเก็บหารวงผึ้ง

มาตรา ๓๒ บทบัญญัติในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการ

บำรุงป่ า การค้นคว้า หรือการทดลองในทางวิชาการ

มาตรา๓๓(๒๐) การเก็บหาของป่ าหวงห้ามก็ดีอัตราค่าภาคหลวงก็ดีซึ่งได้กำหนดขึ้นไว้แล้วนั้นถ้ารัฐมนตรี

เห็นว่ามีกรณีพิเศษเกิดขึ้น ก็ให้มีอำนาจอนุญาตแตกต่างจากข้อกำหนดเป็นการชั่วคราวได้

----------------------------------------------------------

(๑๗) มาตรา x ๒๖ บัญญัติขึ้นโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๕

(๑๘) มาตรา ๒๙ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๑๑

(๑๙) มาตรา ๓๐ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๖

หมวด ๒ ตราประทับไม้

มาตรา๓๔ ตราประทับไม้ของรัฐบาลที่ใช้ประทับเพื่อความหมายใดจะให้มีลักษณะอย่างใดให้รัฐมนตรี

ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๓๕(๒๑) ตราประทับไม้ของเอกชนจะให้ประทับไม้ได้ต่อเมื่อเจ้าของตราได้นำจดทะเบียนและได้รับ

อนุญาตแล้ว การจดทะเบียน การรับอนุญาต พร้อมทั้งเงื่อนไขในการใช้และค่าธรรมเนียมในการนั้นๆให้เป็นไปตาม

ข้อกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๓๖ ตราประทับไม้ของเอกชนถ้าหากสูญหายไปโดยเหตุใดเจ้าของตราประทับไม้นั้นต้องแจ้งความต่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นหนังสือ ภายในกำหนด เวลาไม่เกินหกสิบวัน นับแต่วันรู้ถึงการสูญหายนั้น

มาตรา ๓๗ ในกรณีฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดนี้ ถ้าไม้ใดมีรอยตราประทับไม้ของเอกชนปรากฎอยู่ให้

สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าเจ้าของตรานั้น เป็นผู้กระทำการฝ่าฝืน

----------------------------------------------------------

(๒๐) มาตรา ๓๓ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๗ (๒๑) มาตรา ๓๕ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้

(ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๔๙๔ มาตรา ๑๒

หมวด ๓

ไม้และของป่าระหว่างเคลื่อนที่

ส่วนที่ ๑

การนำเคลื่อนที่

มาตรา ๓๘ (๒๒) บทบัญญัติในส่วนนี้ให้ใช้บังคับถึงการนำไม้หรือของป่ าเคลื่อนที่ต่อไปภายหลังที่

(๑) นำไม้หรือของป่ า ที่ทำออกตามใบอนุญาตไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาตแล้ว

(๒) นำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตไปถึงด่านป่ าไม้ด่านแรกแล้ว

มาตรา๓๙(๒๓) ผู้ใดนำไม้หรือของป่ าเคลื่อนที่ต้องมีใบเบิกทางของพนักงานเจ้าหน้าที่กำกับไปด้วยตาม

ข้อกำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา๔๐ (๒๔) ผู้ใดนำไม้หรือของป่ าเคลื่อนที่ล่วงด่านป่ าไม้ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำด่านนั้น

พร้อมทั้ง พร้อมทั้งแสดงใบเบิกทางกำกับไม้หรือของป่ าที่นำมานั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตเป็นหนังสือให้ผ่าน

ด่านได้แล้ว จึงให้นำไม้หรือของป่ านั้นไปได้การอนุญาตนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยมิชักช้า

มาตรา๔๑ ห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่ าเคลื่อนที่ผ่านด่านป่ าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระ

อาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็ นหนังสือ

มาตรา๔๒ บทบัญญัติแห่งสองมาตราก่อน มิให้ใช้บังคับในกรณีต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีข้อกำหนดอย่างอื่นในสัมปทาน ใบอนุญาตหรือใบเบิกทาง

(๒) เมื่อทบวงการเมืองใด ได้ตกลงกับกรมป่ าไม้ไว้เป็นอย่างอื่น

(๓)เมื่อเป็นการกระทำของผู้ได้รับอนุญาตทำการเก็บไม้ไหลลอยเก็บไว้เพื่อส่งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำ

สถานีตรวจรับ และรักษาไม้ไหลลอยตามความในพระราชบัญญัตินี้

----------------------------------------------------------

(๒๒) มาตรา ๓๘ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๕)พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๑๘

(๒๓) มาตรา ๓๙ ทวิ บัญญัติขึ้นโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๘

(๒๔) มาตรา ๔๐ แก้ไขโดย พ.ร.บ.ป่ าไม้ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๙

ส่วนที่ ๒ การควบคุมไม้ในลำน้ำ

มาตรา๔๓ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดเขตต์ควบคุมไม้ในลำน้ำโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายใน

เขตต์ที่รัฐมนตรีกำหนด ตามความในวรรคก่อน ห้ามมิให้ผู้ที่มิใช่เจ้าของไม้หรือได้รับอำนาจจากเจ้าของไม้เก็บไม้ไหล

ลอยเว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอย ต้องทำการเก็บและรักษาไม้ตามข้อกำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้รับ

อนุญาตเก็บไม้ ไหลลอยได้แล้ว ให้มอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่โดยมิชักช้า

มาตรา๔๕ ทุกปี ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนสิงหาคมเมื่อมีไม้ไหลลอยมาตกอยู่ในความครอบครองของ

พนักงานเจ้าหน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศ โฆษณาให้เจ้าของเรียกเอาภายในเวลากำหนดแต่มิให้กำหนดน้อย

กว่าเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้คืนไม้ไหลลอย ให้แก่ผู้ที่อ้างสิทธิในไม้นั้นเมื่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่พอใจใน หลักฐานที่ผู้นั้นนำมาแสดง ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเป็นอย่างอื่น และผู้อ้างสิทธิไม่พอใจ

ในคำสั่ง ผู้นั้นต้องไปร้องต่อศาลภายใน กำหนดเวลาสามสิบวัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่ร้อง

ภายใน กำหนดผู้นั้นหมดสิทธิ ว่ากล่าวต่อไป ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลมิได้สั่งแสดงว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิใน

ไม้นั้นให้ตกเป็นของแผ่นดิน

มาตรา๔๖ ผู้มีสิทธิได้รับไม้คืนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องชำระค่ารางวัลแก่ผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอยและ

ค่าธรรมเนียมแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามอัตรา ที่กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีที่ไม่มีผู้มีสิทธิได้รับไม้คืนจากพนักงาน

เจ้าหน้าที่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จ่ายรางวัลให้แก่ผู้รับอนุญาตเก็บไม้ไหลลอย โดยอัตราเดียวกัน

หมวด ๔ การควบคุมการแปรรูปไม้

มาตรา ๔๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดท้องที่ใดให้เป็นเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยประกาศในราชกิจจา

นุเบกษา ประกาศนั้นให้ใช้บังคับได้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศการอนุญาตนั้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่

ปฏิบัติโดยมิชักช้า

มาตรา๔๘ (๒๕) ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ตั้งโรงค้าไม้แปร

รูปมีไม้สักแปรรูปไม่ว่าจำนวนเท่าใด ไว้ในครอบครองเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตาม

ข้อกำหนดให้กฎกระทรวงและในการอนุญาตเพื่อประโยชน์แห่ง ความในวรรคหนึ่งไม้ซุงหรือไม้ท่อนที่จมอยู่ในแม่น้ำลำ

คลองในรัศมีห้าสิบเมตรของบริเวณที่ทำการแปรรูปไม้และไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ให้สันนิษฐานว่าเป็นไม้ที่อยู่ในความ

ครอบครองของผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ที่มีโรงงานอยู่ในบริเวณนั้นความในวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึง

การกระทำแก้ไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย

มาตรา ๔๙(๒๖) ผู้ขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกลต้อง

๑.เป็นเจ้าของ และ

๒.ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่เป็นลหุโทษหรือ

๓.ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือ

๔.ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือ

๕.ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต หรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งออก ตามความในหมวดนี้

หรือใบอนุญาตทำไม้ ใบอนุญาตผูกขาดทำไม้ หรือสัมปทานทำไม้ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัตินี้

ในกรณีผู้ขอรับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้เป็ นนิติบุคคล หุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการของนิติ

บุคคลนั้น ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา๔๙ ทวิ ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ต้องรับผิดชอบในการดำเนินกิจการเกี่ยวกับแปรรูปไม้ตามที่

ตนได้รับอนุญาต

มาตรา ๕๐(๒๗) บทบัญญัติแห่งมาตรา ๔๘ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้

๑.การกระทำเพียงเลื่อย ตัด ลิด ขุด หรือถากซ้อมไม้เพื่อเป็นซุงท่อน ไม้เหลี่ยมโกลน มาดหรือโกลน เสาถาก

หรือหมอนรถ หรือเพื่อทำไม้ฟืนหรือทำไม้เผาถ่านหรือเลื่อยผ่าเพียง เพื่อความจำเป็นในการชักลาก ในเมื่อพนักงาน

เจ้าหน้าที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำไม้ให้กระทำการนั้น ๆ ได้และผู้รับอนุญาตได้กระทำการนั้น ๆ ก่อนนำไม้เคลื่อนที่จาก

บริเวณตอไม้

๒.การแปรรูปไม้ที่แปรรูปมาแล้วจากไม้ซุงหรือไม้ท่อน ที่มิใช่เพื่อการค้า

๓.การมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่เพื่อการค้า โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วย

พระราชบัญญัตินี้

๔.การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม

๕.การแปรรูปไม้โดยใช้แรงคนที่มิใช่เพื่อการค้า จากไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูป โดยมีหลักฐานแสดงว่าได้ไม้

นั้นมาโดยชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๑(๒๘) ผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ จะมีไว้ครอบครองในสถานที่ที่ได้รับอนุญาตของตนได้

เฉพาะไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ไม้ที่ได้ชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่ าเสร็จสิ้นแล้ว หรือถ้าเป็นไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการแปรรูปได้ก่อนชำระ

ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่ า โดยมีหนังสืออนุญาตของอธิบดีกรมป่ าไม้ และมีรอยตราอนุญาตประทับไว้แล้ว

(๒) ไม้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าภาคหลวง และพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับตราแสดงว่าเป็ นไม้ที่ทำได้

โดยไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงไว้แล้ว

(๓) ไม้ที่ได้รับซื้อจากทางราชการป่ าไม้ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประทับตรารัฐบาลขายไว้แล้ว

(๔) ไม้แปรรูปของผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ และมีหนังสือกำกับไม้แปรรูปของผู้รับอนุญาต หรือใบเบิกทางของ

พนักงานเจ้าหน้าที่ กำกับไว้เป็นหลักฐาน

(๕) ไม้ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร และมีใบเบิกทางตามมาตรา ๓๘ (๓) กำกับ

มาตรา ๕๒ ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เว้น

แต่จะ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นหนังสือ

มาตรา ๕๓ (๒๙) เพื่อที่จะดูว่าผู้รับอนุญาตตามความในหมวดนี้ได้ปฎิบัติถูกต้องตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจการแปรรูปไม้ และกิจการของผู้รับอนุญาตได้ผู้รับอนุญาตต้องอำนวยความสะดวก

และตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้

มาตรา ๕๓ ทวิ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดท้องที่เป็นเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่

ทำด้วยไม้หวงห้าม โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ในการกำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีกำหนดชนิดไม้ ขนาด

หรือปริมาณของสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วย ไม้หวงห้าม ซึ่งผู้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อ

การค้าที่จะต้องขออนุญาตตาม มาตรา ๕๓ ตรีหรือ มาตรา ๕๓ จัตวา

มาตรา ๕๓ ตรี ภายในเขตควบคุม ห้ามมิให้ผู้ใดค้า หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้

หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม ที่มีชนิดไม้ขนาดหรือปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดตามมาตรา ๕๓ ทวิ

เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๕๓ จัตวา ในกรณีที่มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดเขตท้องที่ใดเป็นเขตควบคุมตามมาตรา ๕๓ ทวิให้

ผู้ค้าหรือผู้มีไว้ในครอบครอง เพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม ที่มีชนิดไม้

ขนาดหรือปริมาณเกินกว่าชนิดไม ◌้ ขนาดหรือปริมาณที่ควบคุมอยู่แล้ว ก่อนวันที่ประกาศของรัฐมนตรีดังกล่าวใช้

บังคับยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศของรัฐมนตรีดังกล่าว ที่ใช้

บังคับ เมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้บุคคลดังกล่าวค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่ง

สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามได้ต่อไป จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตตามคำ

ขอ

หมวด ๕

การแผ้วถางป่ า

มาตรา ๕๔ (๓๐) ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่ า หรือ กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการ

ทำลายป่ า หรือเข้ายึดถือหรือครอบครองป่ า เพื่อตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่จะกระทำภายในเขตที่ได้ จำแนกไว้เป็น

ประเภทเกษตรกรรมและรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือโดยได้รับ ใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๕ ผู้ใดครอบครองป่ าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อน

ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่ านั้น

หมวด ๖

เบ็ดเตล็ด

มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้ จะโอนได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงาน

เจ้าหน้าที่ถ้าผู้รับอนุญาตตาย ทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะทำการแทนตามใบอนุญาตนั้นต่อไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเก้า

สิบวันนับแต่วันผู้รับอนุญาตตาย และถ้าทายาทหรือผู้จัดการมรดก ประสงค์จะทำการแทนต่อไปอีก ต้องยื่นคำขอ

อนุญาตก่อนกำหนดเวลาที่กล่าวแล้วได้สิ้นสุดลง

มาตรา ๕๗ ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้คนงานหรือผู้รับจ้าง ซึ่งทำการตามที่ได้รับอนุญาตมี

ใบคู่มือแสดงฐานะเช่นนั้น ตามแบบที่ กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา ๕๘ (๓๑) การขออนุญาตและการอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

เงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และในกรณี เฉพาะเรื่อง ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรจะกำหนดให้ผู้รับอนุญาตปฎิบัติ

เพิ่มเติมประการใดอีกก็ได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งต่ออายุใบอนุญาต ที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ได้

เมื่อเห็นสมควร

มาตรา ๕๘ ทวิ ในกรณีทำไม้หวงห้าม หรือเก็บหาของป่ าหวงห้ามโดยการให้สัมปทาน การอนุญาตให้ผูกขาด

หรือการอนุญาตให้ทำไม้หวงห้าม เพื่อการค้าในเขตป่ าสงวนแห่งชาติ หรือป่ าที่ได้เตรียมการกำหนดเป็นป่ าสงวน

แห่งชาติหรือที่ได้กำหนดโครงการทำไม้หรือเก็บหาของป่ าไว้แล้ว หรือการอนุญาตตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๘ หรือ

มาตรา ๕๔ รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด

(๑) ให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับอนุญาต ทำการบำรุงป่ า หรือปลูกสร้างสวนป่ าตามคำสั่งและวิธีการที่พนักงาน

เจ้าหน้าที่กำหนด หรือ

(๒) ให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับอนุญาตออกค่าใช้จ่ายเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการบำรุงป่ า หรือปลูกสร้างสวนป่ าให้

แทนในกรณีตาม (๒) ให้คิดค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินหกเท่าของค่าภาคหลวง หรือตามอัตราพื้นที่ป่ าที่ได้รับสัมปทานหรือรับ

อนุญาต ไม่เกินไร่ละหนึ่งพันสองร้อยบาททั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีเห็นสมควร

มาตรา ๕๙ (๓๒) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ได้ดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อปรากฎว่าผู้รับอนุญาตฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการ

อนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ จะสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ไม่เกินหนึ่ง

ร้อยยี่สิบวัน

(๒) เมื่อมีการฟ้ องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่า ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะสั่งพักใบอนุญาตไว้จนกว่าจะมีคำ

พิพากษาถึงที่สุดก็ได้

มาตรา ๖๐ เมื่อได้มีคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้พักใช้ใบอนุญาตแล้วรับอนุญาตหมดสิทธิตามใบอนุญาต

นั้น นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ จนกว่าจะครบกำหนดเวลาการพักใช้ใบอนุญาต หรือจนกว่ารัฐมนตรี

จะได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต

มาตรา ๖๑ (๓๓) ในกรณีที่เหตุแห่งการสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามมาตรา ๕๙ ปรากฏแก่รัฐมนตรีหรือเมื่อ

พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งพักใช้ ใบอนุญาตตามมาตรา ๕๙ แล้ว ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรจะสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ออก

ตามพระราชบัญญัตินี้เสียก็ได้ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรกล หรือผู้กระทำการแทนนิติ

บุคคลผู้รับอนุญาต ไม่มีลักษณะตามมาตรา ๔๙ (๑) หรือเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๙ (๒) (๓) หรือ (๔)

แล้วแต่กรณีให้รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา ๖๑ ทวิคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือ

เพิกถอนใบอนุญาตรับทราบ ในกรณีที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ไม่อาจให้ผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตรับทราบคำสั่ง

ตามวรรคหนึ่ง ให้ปิ ดคำสั่งในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทำการตามใบอนุญาต หรือที่อยู่ของผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิก

ถอนใบอนุญาต เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีนี้แล้ว ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งพักใช้หรือ เพิกถอนใบอนุญาต เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีนี้แล้ว

ให้ถือว่าผู้ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตรับทราบคำสั่งนั้นแต่วันปิ ดคำสั่ง

มาตรา ๖๒ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งไม่อนุญาตตามคำขอของบุคคลใดตามความในพระราชบัญญัตินี้

หรือสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามความในมาตรา ๕๙ บุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อรัฐมนตรีได้

ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้ถือเป็นที่สุด

มาตรา ๖๓ ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ รัฐบาลมีอำนาจให้สัมปทานในการทำไม้ชนิดใด

หรือเก็บหาของป่ าอย่างใด ในป่ าใด โดยมีขอบเขตเพียงใด และในสัมปทานนั้นจะให้มีข้อกำหนดและเงื่อนไขอย่างใดก็

ได้รัฐบาลมีอำนาจให้ผู้รับสัมปทานเสียเงินค่าภาคหลวง ตามอัตราที่รัฐบาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินอัตราอย่างสูงที่

กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และจะให้ผู้รับสัมปทานเสียเงินแก่รัฐบาล ตามจำนวนที่ รัฐบาลจะกำหนดอีกก็ได้

มาตรา ๖๔ (๓๔) ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็น

พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๖๔ (๓๔) ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดบรรดาเครื่องมือเครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ

หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้ใช้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับ

ผลในการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ หรือมาตรา ๖๙ ไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณา

คดีได้จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้ องคดีหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นของผู้กระทำความผิด

หรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ ทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าพนักงานอัยการสั่ง

เด็ดขาดไม่ฟ้ องคดี หรือศาลไม่พิพากษาให้ริบ และผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ร้องขอรับคืนภายในกำหนดหก

เดือนนับแต่วันทราบ หรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง เด็ดขาดไม่ฟ้ องคดีหรือวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด แล้วแต่กรณี ให้ตกเป็น

ของกรมป่ าไม้ ถ้าทรัพย์สินที่ยึดไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้จ่าย ในการเก็บรักษาจะเกินค่าของทรัพย์สิน

รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายจะจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นก่อนถึงกำหนดตามวรรคสองก็ได้ได้เงินเป็น

จำนวนสุทธิเท่าใดให้ยึดไว้แทนทรัพย์สินนั้น

มาตรา ๖๔ ตรี ในกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามมาตรา ๖๔ ทวิ มิใช่เป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอัน

สมควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรีคืนทรัพย์สินหรือเงินแล้วแต่กรณีให้แก่

เจ้าของก่อนถึงกำหนดตามมาตรา ๖๔ ทวิ ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีที่เป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้นถูกยึด และ

(๒) เมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิดได้ทรัพย์สินนั้น มาจากผู้เป็นเจ้าของโดยการ

กระทำ ความผิดทางอาญา

มาตรา ๖๕ เพื่อบำบัดปกป้ องภยันตราย ซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉินแก่ไม้หรือของป่ าในป่ าใด พนักงาน

เจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งผู้รับอนุญาต หรือผู้รับสัมปทานในป่ านั้นหรือป่ าที่ใกล้เคียง รวมทั้งคนงานหรือผู้รับจ้างของผู้

อนุญาตหรือผู้รับสัมปทานให้ให้ความช่วยเหลือด้วยแรงงาน หรือสิ่งของตามที่จำเป็นแก่การนั้นได้

มาตรา ๖๖ การโอนไม้หรือของป่ าที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้รับสัมปทาน กระทำก่อนที่ได้ชำระค่าภาคหลวง หรือ

ก่อนที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นหนังสือ จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อใช้แก่เจ้าพนักงานหาได้ไม่

มาตรา ๖๗ ให้รัฐมนตรีตั้งด่านป่ าไม้และกำหนดเขตแห่งด่านนั้น ๆ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๖๘ (๓๕) บรรดาหนี้ค่าภาคหลวงสำหรับไม้หรือของป่ าที่ค้างชำระอยู่ ให้ถือว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรที่

ค้างชำระแก่รัฐบาล และให้รัฐบาลทรงไว้ซึ่ง สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้โดยมีบุริมสิทธิสามัญอย่างเดียวกับค่าภาษีอากร

ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

หมวด ๖ ทวิ (๓๕)

การสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทานและการสิ้นสุดของสัมปทาน

มาตรา ๖๘ ทวิ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ใดในเขตสัมปทานเพื่อประโยชน์ในการสร้างเขื่อน

ชลประทาน หรือเขื่อนพลังน้ำหรือเพื่อการป้ องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความ

สมดุลของสภาพแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมี

อำนาจสั่งการดังต่อไปนี้

(๑) ให้สัมปทานที่มีพื้นที่สัมปทานทับพื้นที่ดังกล่าวสิ้นสุดลงทั้งแปลง

(๒) ให้ผู้รับสัมปทานหยุดการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานเป็นการชั่วคราวในพื้นที่ดังกล่าวตามระยะเวลาที่เห็นสมควร

(๓) ตัดเขตพื้นที่ดังกล่าวออกจากพื้นที่ในสัมปทานการสั่งการของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัด

จากวันที่ออกคำสั่ง

มาตรา ๖๘ ตรี นอกจากการสิ้นสุดลงตามอายุของสัมปทานหรือตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน

สัมปทาน หรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในเขตพื้นที่สัมปทานทั้งแปลง หรือ

บางส่วนย่อมสิ้นสุดลงเมื่อพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตที่กำหนดให้เป็น

(๑) อุทยานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ หรือ

(๒) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ า

มาตรา ๖๘ จัตวา ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือในกรณีที่สิทธิการทำกิจการที่ได้รับ

สัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา ๖๘ทวิ หรือในกรณี ที่สัมปทานสิ้นสุดลงเนื่องจากทางราชการได้ใช้สิทธิเพิกถอน

สัมปทานเพราะเหตุที่ผู้รับสัมปทานไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กำหนดใน สัมปทานบรรดาไม้และของป่ าที่

อยู่ในพื้นที่สัมปทานที่สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานสิ้นสุดลง และบรรดาไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวง ไม่ว่าจะอยู่

ในพื้นที่สัมปทานนั้นหรือไม่ ย่อมเป็นของแผ่นดินและผู้รับสัมปทานจะได้สิทธิหรือกรรมสิทธ์ิในไม้หรือของป่ าได้ต่อเมื่อ

ผู้รับสัมปทาน สามารถพิสูจน์ได้ว่าตนได้ทำไม้หรือเก็บหาของป่ านั้นโดยถูกต้องตามกฎหมายข้อกำหนดและเงื่อนไขที่

กำหนดในสัมปทานก่อนสิทธิตามสัมปทาน สิ้นสุดลง

ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะพิสูจน์ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอพิสูจน์ต่อรัฐมนตรีภายใน

สามสิบวัน นับแต่วันที่ผู้รับสัมปทาน ได้รับหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แจ้งคำสั่งรัฐมนตรี หรือแจ้งการสิ้นสุดของ

สัมปทานตามมาตรา ๖๘ อัฎฐ วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี วิธีการยื่นคำขอ พิสูจน์ การพิสูจน์การพิจารณาและการสั่งการ

ของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่พอใจคำสั่งรัฐมนตรี ผู้รับสัมปทานมีสิทธิฟ้ องต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่าตนได้ทำไม้ หรือ

เก็บหาของป่ าโดยถูกต้องตามกฎหมาย ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทานก่อนสิทธิตามสัมปทานสิ้นสุดลง

แต่ทั้งนี้ต้องยื่นฟ้ องภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับ คำสั่งของรัฐมนตรี

มาตรา ๖๘ เบญจ ในกรณีที่เป็นสัมปทานทำไม้ที่รัฐมนตรีได้มีคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือสิทธิการทำไม้

ในเขตพื้นที่สัมปทาน สิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ให้ผู้รับสัมปทานหยุดการทำไม้ในเขตพื้นที่สัมปทานที่สิทธิการทำไม้

สิ้นสุดลงและหยุดการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากสถานที่รวมหมอนไม้สำหรับการตรวจวัด คำนวณค่าภาคหลวงโดยสิ้นเชิง

และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจสภาพการทำไม้ และสำรวจไม้ที่รวมอยู่ ณ สถานที่รวมหมอนไม้ของผู้รับ

สัมปทาน และทำบันทึกรายงานเสนอต่ออธิบดีกรมป่ าไม้โดยเร็ว บันทีกรายงานดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ระบุข้อเท็จจริง

เกี่ยวกับวิธีการทำไม้ จำนวนและขนาดของไม้ และให้ความเห็นด้วยว่า ผู้รับสัมปทานได้ทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อกำหนดและเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสัมปทานหรือไม่

ในกรณีที่ผลการสำรวจตามวรรคหนึ่งปรากฏว่า ผู้รับสัมปทานได้ทำไม้โดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย

ข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่กาหนดไว้ใน สัมปทานและการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ทางราชการมีสิทธิเพิกถอนสัมปทาน

การสิ้นสุดของสิทธิการทำไม้ตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือมาตรา ๖๘ ตรี ย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิทางราชการที่จะเพิกถอน

สัมปทาน โดยให้มีผลตั้งแต่วันก่อนวันที่สิทธิการทำไม้สิ้นสุดลง ◌ํ

เมื่อผู้รับสัมปทานพสูจน์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๘ จัตวา ได้ว่าตนได้ทำไม้โดยถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในสัมปทาน ก่อนวันที่สิทธิตามสัมปทานสิ้นสุดลง หรือเมื่อศาลได้พิพากษาเช่นนั้นให้

อธิบดีกรมป่ าไม้มีหนังสือแจ้งให้ผรับสัมปทานทำการชักลาก และนำไม้ดังกล่าว เคลื่อนที่ได้พร้อมทั้ง กำหนด

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานต้องปฏิบัติไว้ด้วย ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์

วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่ าไม้กำหนดดังกล่าว ให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของ

แผ่นดิน ◌ิ◌ู_

มาตรา ๖๘ ฉ ให้ผู้รับสัมปทานที่ได้รับคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือผู้รับสัมปทานที่สัมปทานสิ้นสุดลงตาม

มาตรา ๖๘ ตรี ดังต่อไปนี้ มีสิทธิได้รับเงินชดเชยความเสียหายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ตามมาตรา ๖๘

สัตต มาตรา ๖๘ อัฎฐ มาตรา ๖๘นว มาตรา ๖๘ ทศ และมาตรา ๖๘ เอกาทศ

(๑) ผู้รับสัมปทานที่พื้นที่สัมปทานทั้งแปลงต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา ๖๘ ทวิ (๑) หรือมาตรา ๖๘ ตรี และ

(๒) ผู้รับสัมปทานที่ได้รับคำสั่งตามมาตรา ๖๘ทวิ (๒) หรือ (๓) หรือผู้รับสัมปทานที่พื้นที่สัมปทานบางส่วนต้องสิ้นสุด

ลงตามมาตรา ๖๘ ตรี ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่ผู้รับสัมปทานดังกล่าว ได้ขอเวนคืนสัมปทานที่เหลือทั้งหมดของตนต่อทาง

ราชการ

ในกรณีที่มีการสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ หรือสัมปทานสิ้นสุดลงตามมาตรา ๖๘ ตรี การเรียกร้องหรือการให้ค่าสินไหม

ทดแทนหรือเงินชดเชย เพื่อความเสียหายอย่างอื่น นอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ จะกระทำมิได้

มาตรา ๖๘สัตต เงินชดเชยความเสียหายที่ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(๑) ต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงแก่ผู้รับสัมปทานและเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้

(ก) เงินลงทุนที่ผู้รับสัมปทานได้ใช้จ่ายไปเพื่อการทำกิจการที่ได้รับสัมปทาน เช่น ค่าเครื่องจักรกล ค่ายานพาหนะ ค่า

เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้รับสัมปทานยังใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงค่าเสื่อมราคาที่ได้

หักไว้แล้ว ระยะเวลาของสัมปทานที่ ผู้รับสัมปทานได้ใช้สิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานไปแล้วจำนวนไม้หรือของป่ า

ที่ผู้รับสัมปทานได้ทำออกไปแล้วรวมทั้งประโยชน์อย่างอื่นที่ผู้รับ สัมปทานได้รับไป อันเนื่องจาการทำกิจการที่ได้รับ

สัมปทานในระหว่างอายุสัมปทาน และมูลค่าของทรัพย์สินหรือสิ่งของที่เหลืออยู่ และยังเป็น ประโยชน์ต่อผู้รับสัมปทาน

(ข) ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับสัมปทานได้จ่ายไปเพื่อการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานและยังมิได้รับผลประโยชน์กลับคืน ทั้งนี้ โดย

ให้คำนึงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน (ก) และ

(ค) ความผูกพันตามกฎหมาย ที่ผู้รับสัมปทานมีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการ

จ่ายเงินชดเชยให้แก่ ลูกจ้างในกรณีที่มีการเลิกจ้าง เงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่นำมาพิจารณาเพื่อรับเงินชดเชยตาม (ก)

และ (ข) จะต้องไม่เกินกว่าที่เป็ นเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย ตามที่ผู้ประกอบธุรกิจจะลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจการเช่นนั้น

โดยทั่วไปตามปกติ

(๒) ความรับผิดที่ผู้รับสัมปทานมีต่อบุคคลภายนอก ตามสัญญาระหว่างผู้รับสัมปทานกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวเนื่อง

กับการทำกิจการที่ได้รับสัมปทาน หากมีข้อสัญญาที่คู่สัญญาตกลง ให้ผู้รับสัมปทานต้องรับผิด ในกรณีเหตุสุดวิสัยให้

แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือมีข้อสัญญาที่สัญญา ตกลงให้ผู้รับสัมปทานต้องรับผิดเพราะรัฐ

สั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัมปทานข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลใช้บังคับเพื่อการให้เงินชดเชย ความเสียหาย

ตามมาตรานี้

(๓) ห้ามมิให้มีการจ่ายเงินชดเชยเพื่อกำไรหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ผู้รับสัมปทานคาดว่าจะได้รับจากการทำกิจการที่

ได้รับสัมปทาน

(๔) ในกรณีที่การเลิกสัมปทานเป็นเหตุให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นตอบแทน จากการ

ประกันหรือการอื่นใด เพื่อทดแทนความเสียหาย ให้ถือว่าเงิน ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นนั้น เป็น

ส่วนหนึ่งของเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรานี้ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยื่นคำขอเวนคืน

สัมปทานตามมาตรา ๖๘ฉ (๒) ให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินชดเชยความเสียหาย เฉพาะตามอัตราส่วนของพื้นที่ หรือของ

จำนวนไม้หรือของป่ าที่จะทำออกได้จากพื้นที่ในส่วนที่สัมปทานนั้นสิ้นสุดลงแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้เว้นแต่ใน

กรณีทีมีเหตุผล ฟังได้วา พื้นที่ในส่วนที่สัมปทานสิ้นสุดลงนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้รับสัมปทาน ไม่สามารถดำเนิน

กิจการในสัมปทานที่ขอเวนคืนนั้นต่อไปได้ ก็ให้ได้รับเงินชดเชยเช่นเดียวกับกรณีพื้นที่สัมปทานทั้งแปลงสิ้นสุดลง _

มาตรา๖๘ อัฎฐ เมื่อรัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา ๖๘ ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งของรัฐมนตรีให้ผู้รับ

สัมปทานทราบเป็นหนังสือ หรือเมื่อสิทธิการทำกิจการที่ได้รับสัมปทานในเขตพื้นที่สัมปทานทั้งแปลง หรือบางส่วน

ต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 68 ตรี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงการสิ้นสุดดังกล่าว

ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานประสงค์จะเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหาย ผู้รับสัมปทานจะต้องยื่นคำขอเรียกร้องเงินชดเชย

ความเสียหายต่ออธิบดี กรมป่ าไม้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับสัมปทานได้รับหนังสือของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่แจ้ง

คำสั่งของรัฐมนตรี หรือแจ้งการสิ้นสุด ของสัมปทานตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณีคำขอตามวรรคสองให้ทำเป็นหนังสือ

พร้อมทั้งจัดทำบัญชีแสดงจำนวนเงินชดเชยความเสียหายที่ตนเห็นว่า สมควรจะได้รับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน

มาตรา ๖๘ สตต โดยมีหลักฐานที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของตน ตามความจำเป็น

ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานที่ขอเรียกร้อง เงินชดเชยความเสียหายเป็นผู้ใช้สิทธิตามมาตรา ๖๘ ฉ (๒) ผู้รับสัมปทานต้องขอ

เวนคืนสัมปทานที่เหลือทั้งหมด ของตนก่อน หรือในวันที่ขอเรียกร้องเงินชดเชยความเสียหายตามมาตรานี้

มาตรา ๖๘ นว ในการพิจารณากำหนดเงินชดเชยความเสียหาย ให้อธิบดีกรมป่ าไม้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น

คณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทน กรมสรรพากรหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหนึ่งคน ผู้มีความรู้

ความสามารถในการตีราคาทรัพย์สินหนึ่งคน และเจ้าหน้าที่กรมป่ าไม้หนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดเงิน

ชดเชยความเสียหายให้คณะกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้รับสัมปทานมาชี้แจ้งข้อเท็จจริงหรือส่งเอกสารหลักฐาน

เพิ่มเติม ตลอดจนเรียกให้ผู้รับสัมปทานมาเจรจาเพื่อกำหนดเงินชดเชยดังกล่าวได้ และในกรณีที่ผรับสัมปทานไม่

ปฎิบัติตามคำสั่ง หรือไม่ให้ความร่วมมือ กับคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการดำเนินการกำหนดเงินชดเชยความ

เสียหายตามที่เห็นสมควรต่อไปโดยมิชักช้า เมื่อคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ได้กำหนดเงินชดเชยความเสียหายเสร็จ

สิ้นแล้ว ให้ทำบันทึกรายงานเสนอต่ออธิบดีกรมป่ าไม้ โดยบันทึกรายงานดังกล่าวจะต้องแสดงรายละเอียด และเหตุผล

ของการพิจารณาว่าการกำหนดเงินชดเชยดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร มีเหตุผลสนับสนุนเพียงใด

พร้อมทั้งระบุเอกสารหลักฐาน ที่ใช้ในการพิจารณา และในกรณีที่อธิบดีกรมป่ าไม้ไม่เห็นชอบด้วย ให้อธิบดีกรมป่ าไม้มี

อำนาจแก้ไขตามที่เห็นสมควรพร้อมทั้งแสดงเหตุผลกำกับใน บันทึกไว้ด้วย ◌ู_

ให้อธิบดีกรมป่ าไม้มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบถึงจำนวนเงินชดเชยความเสียหายที่ผู้รับสัมปทานจะได้รับพร้อม

ด้วยเหตุผลตามสมควร และให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้รับสัมปทานจะมาขอรับเงินชดเชยดังกล่าวไว้ด้วย

มาตรา ๖๘ ทศ ผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่พอใจในเงินชดเชยความเสียหายที่อธิบดีกรมป่ าไม้แจ้งให้ทราบตาม

มาตรา ๖๘ นว ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่ าไม้

ดังกล่าว

ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทาง

กฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาทรัพย์สิน มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคนเป็น

ผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ให้รัฐมนตรีวนิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำ

อุทธรณ์ ◌ิ

มาตรา ๖๘ เอกาทศ ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๘ทศ หรือใน

กรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จภายใน กำหนดเวลาตามมาตรา ๖๘ ทศวรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้ องคดีต่อศาล

ได้ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด ดังกล่าว แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่มีการฟ้ องคดีต่อศาลและศาลพิพากษา ให้ผู้รับสัมปทานได้รับเงินชดเชยความเสียหายเพิ่มขึ้น ผู้รับสัมปทานมี

สิทธิได้รับดอกเบี้ยของ เงินชดเชยความเสียหายเฉพาะในส่วนที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

หมวด ๗

บทลงโทษ

มาตรา ๖๙ (๓๖) ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง หรือ

รอยตรารัฐบาลขาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับ

ไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น

๑. ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ

๒. ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกิน

สี่ลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท

มาตรา ๗๐ ผู้ใดรับไว้ด้วยประการใด ซ่อนเร้น จำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียให้พ้น ซึ่งไม้หรือของป่ าที่ตน

รู้อยู่แล้วว่าเป็นไม้หรือของป่ าที่มีผู้ได้มา โดยการกระทำผิดต่อ บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีความผิดฐานเป็นตัวการใน

การกระทำผิดนั้น

มาตรา ๗๑ (๓๗) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๔๔ วรรคสองหรือมาตรา ๕๗

ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๗๑ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๒๙ ทวิ มาตรา ๓๙ มาตรา ๓๙ ตรี มาตรา

๔๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๔๓ วรรคสองหรือมาตรา ๕๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๒ (๓๘) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี

หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๒ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้า

หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น

๑. ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ

๒. ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินห้าต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้ที่

ครอบครองเกิน หนึ่งลูกบาศก์เมตรหรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๗๒ ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๔ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน

ห้ามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าได้กระทำเป็ นเนื้อที่เกินยี่สิบห้าไร่ ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปี

ถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

ในกรณีที่มีคำพิพากษาชี้ขาดว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ ถ้าปรากฏว่าบุคคลนั้นได้ยึดถือครอบครองป่ าที่

ตนได้กระทำความผิด ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้กระทำผิด คนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำผิด ออกไป

จากป่ านั้นได้ด้วย

มาตรา ๗๓ (๓๙) ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ มาตรา ๓๑ หรือมาตรา

๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ

๑. ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ

๒. ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกิน

สี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้วรวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตร

ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท

มาตรา ๗๓ ทวิ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๓ ตรี หรือผู้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม

เงื่อนไขที่ระบุไว้ในอนุญาต หรือข้อกำหนดที่รัฐมนตรีกำหนดให้ปฏิบัติเพิ่มเติมตามมาตรา ๕๘ ต้องระวางโทษจำคุก

ตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท

มาตรา ๗๔ (๔๐) บรรดาไม้และของป่ าอันได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้

และสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ และสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามที่มีไว้ เนื่องจากการกระทำความผิดตามมาตรา ๕๓

ตรี ให้ริบเสียทั้งสิ้น

มาตรา ๗๔ ทวิ บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ใน

การกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็น อุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๑ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔

หรือมาตรา ๖๙ ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่

มาตรา ๗๔ ตรี บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวให้อธิบดีกรมป่ าไม้หรือ

พนักงานเจ้าหน้าที่ในระดับไม่ตํ่ากว่า ป่ าไม้จังหวัดหรือหัวหน้าด่านป่ าไม้ มีอำนาจเปรียบเทียบได้

มาตรา ๗๔ จัตวา ในกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาล

และให้ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จ่าย เงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับ เป็นจำนวนเงินไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินค่าปรับ

ตามคำพิพากษาโดยจ่ายจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาล ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ชำระเงินค่าปรับหรือชำระไม่ถึงจำนวนที่

จะต้องจ่ายค่าสินบนนำจับได้ครบถ้วน ก็ให้จ่ายเงินสินบนนำจับ ที่ยังจะต้องจ่ายจาก เงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ

ถ้ายังขาดอยู่อีกก็ให้เป็นพับไป

ในกรณีที่มีผู้นำจับหลายคน ให้แบ่งเงินสินบนนำจับให้คนละเท่า ๆ กันการจ่ายเงินสินบนนำจับนั้น จะจ่ายได้เมื่อคดีถึง

ที่สุดแล้ว

หมวด ๘

การรักษาพระราชบัญญัติ

มาตรา ๗๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจแต่งตั้ง

พนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ไม่เกินจำนวนอย่างสูงที่กำหนดไว้ในบัญชีต่อท้าย

พระราชบัญญัตินี้และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

บทเฉพาะกาล

มาตรา ๗๖ สัมปทานและใบอนุญาตที่ได้ออกให้แก่บุคคลใดเพื่อทำไม้หรือเก็บหาของป่ าไว้แล้วในวันใช้

พระราชบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไป เสมือนหนึ่งเป็นสัมปทาน และใบอนุญาตที่ออกให้ตามความในพระราชบัญญัตินี้

เพียงเท่ากำหนดอายุของสัมปทานและใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๗๗ บรรดาตราประทับไม้ของเอกชนที่ได้จดทะเบียนและเสียค่าธรรมเนียมไว้แล้วก่อนวันใช้

พระราชบัญญัตินี้ ให้คงใช้ได้ต่อไปมีกำหนดร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันใช้พระราชบัญญัตินี้ ถ้าเจ้าของตราประทับไม้ของ

เอกชนประสงค์จะใช้ตรานั้น ต่อจากนั้นไปต้องนำไปขอจดทะเบียนใหม่ ตามความใน พระราชบัญญัตินี้โดยไม่ต้องเสีย

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอีก

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ป. พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรี__

Tags : พรบ.สวนป่าพ.ศ.2535

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view