http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,692
Page Views16,262,991
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เที่ยวเมืองแพร่แห่ระเบิด ตอน1.คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

เที่ยวเมืองแพร่แห่ระเบิด ตอน1.คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

เที่ยวเมืองแพร่แห่ระเบิด

ตอน1.คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

            ตั้งแต่โบราณกาล เมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน  แพร่ และน่าน เป็นประเทศราช ถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีเจ้าผู้ครองนครเป็นของตนเอง มีอำนาจราชศักดิ์ดุจพระเจ้าแผ่นดิน  สืบทอดมรดกทางสายเลือด ยามใดที่อ่อนแอก็ตกเป็นประเทศราชของพม่าบ้าง ของสยามบ้าง ท้ายที่สุดตกเป็นของสยาม


            เจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ดำรงอุดรสถานประชานุบาลยุติธรรมสถิตยผริตบุราธิบดี เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่คนสุดท้าย ทรงครองราชย์ระหว่างปีพ.ศ.2432-2445 เป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 22 มีชายา 9 องค์  องค์แรกคือเจ้าแม่บัวถามหายศปัญญา  ไม่มีบุตรด้วยกัน มีบุตรบุญธรรม ภายหลังหย่าร้างกัน   จึงได้สมรสกับเจ้าบัวไหลมีราชบุตร-ธิดา 7 องค์ คือเจ้ากาบคำ เจ้าเวียงชื่น เจ้าสุพรรณวดี เจ้ายวงคำ  เจ้าหอมนวล  เจ้าอินทร์แปง และชายาองค์ที่สามคือ เจ้าบัวแก้ว และชายาอีก 6 องค์  มีราชบุตรราชธิดากับชายาองค์อื่นๆอีก 7 องค์ รวมเป็น 14 องค์


แม่เจ้าบัวไหล ชายาองค์ที่ 2

            ปีพ.ศ.2435 ทรงสร้างคุ้มเจ้าหลวงด้วยสถาปัตยกรรมแบบปั้นหยา หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดไม้สัก เสาเข็มแบบเรียงนอนด้วยท่อนซุงไม้แดง อาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น  ประดับด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม หน้าต่างบานเกล็ด 72 บาน ตัวคุ้มมี 3 ชั้น คือ ชั้นใต้ดินเป็นห้องขังทาสหรือนักโทษ ชั้นล่างเป็นห้องโถง ห้องรับแขก ห้องรับประทานเลี้ยง ห้องทรงหนังสือและว่าราชการ  ชั้นสองเป็นห้องบรรทมของเจ้าหลวง ห้องบรรทมเจ้าชายา และห้องรับรองแขก             


             ความงดงามของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่นั้น  ศรีวิไจย (โข้) เทพยศ รจนาไว้ดังนี้คือ  “เป๋นสุขจุคน ลาภยศมากหน้า ประตู๋คุ้มหลวง จื้อ ปวงสร้อยหล้า เป๋นมิ่งตั๋วลา เลิศล้ำอินทร์พรหมฮักษา เตวาจ้วยก้ำ นำจุผู้ สบาย สะทะยาย ประตู๋คุ้มเจ้าเต้านี้ วางลง ก่อนแหล....”


             เจ้าผู้ครองนครร่วมสมัยเจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 22 (พ.ศ.2432-2445)ได้แก่ พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์  เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 8 (พ.ศ.2440-2453) เจ้าหลวงบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 (พ.ศ.2440-2465) เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 (พ.ศ.2439-2454) และพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 (พ.ศ.2436-2461)


              ปีพ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ประกาศยกเลิกระบบหัวเมืองประเทศราช งดประเพณีการถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ลดทอนอำนาจเจ้าผู้ครองนครลงโดยส่งข้าหลวงพิเศษจากกรุงเทพขึ้นไปว่าราชการแทน  ยึดอำนาจการอนุญาตสัมปทานทำไม้และเหมืองแร่ไปขึ้นกับส่วนกลางทั้งสิ้น  เมืองแพร่ได้ส่งพระยาสุรราชฤธานนท์(โชค) มาเป็นเจ้าเมืองคนแรก ตามด้วยพระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร)


              วันที่ 25 กรกฎาคม  2445  เป็นวันที่เงี้ยว(ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง ไทเหนือ ไทยวน(คนเมือง) พม่า ขมุ ต่องสู้ กะเหรี่ยง ลาว) ซึ่งเข้ามาทำเหมืองพลอยไพลิน เหมืองเหล็ก ทำไม้ ที่บ้านบ่อแก้ว แขวงเมืองลอง นครลำปาง ลุกฮือเข้ายึดเมืองแพร่ ฆ่าพระยาไชยบูรณ์ เจ้าเมืองแพร่ที่ทางสยามส่งมาปกครองตาย  ส่วนเจ้านาย เจ้าเมือง ดังต่อไปนี้ กระทบไปทุกคนคือ


               เจ้าหลวงพิริยเทพวงษ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ ข้อหากบฏต่อแผ่นดินสยาม จึงได้เสด็จลี้ภัยการเมืองไปประทับอยู่ที่หลวงพระบาง ประเทศลาว ถูกปลดจากฐานันดรศักย์เป็นไพร่ให้รียกว่า น้อยเทพวงศ์ พร้อมกับยึดคุ้มหลวงและราชสมบัติทั้งสิ้น  แม้แต่แม่เจ้าบัวไหล พระชายาก็ถูกถอดออกจากสามัญสมาชิกตติยจุลจอมเกล้า ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และถูกควบคุมตัวไปกักไว้ที่กรุงเทพ พร้อมกับราชบุตรราชธิดา ตลอดจนวงศาคณาญาติมากมาย


               ด้วยประการฉะนี้ นครแพร่จึงไม่มีต้นสกุล ณ แพร่ เฉกเช่นต้นสกุล ณ ลำปาง ณ น่าน ณ ลำพูน และ ณ เชียงใหม่  


               เมืองแพร่เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ แร่  อัญมณี โดยเฉพาะไม้สักซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ เป็นแหล่งทรัพยากรที่อำนวยผลประโยชน์ให้เจ้าผู้ครองนครแพร่  แต่เมื่อตกใต้การปกครองของสยาม บริษัทอิสต์เอเชียติกจำกัด ในอาณัติของประเทศเดนมาร์ค และบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าจำกัดในอาณัติของประเทศอังกฤษ  จึงได้รับสัมปทานเข้าทำไม้สักในนครแพร่จากรัฐบาลสยามโดยตรง


                เรื่องราวการทำไม้สักในนครแพร่ดุจดั่งนิยายผจญไพร  แค่นั้นยังไม่พอยังมีอัญมณี(ไพลิน) มีค่ามากมายหลายหลาก ชวนให้เกิดการค้าระหว่างนครแพร่และเมืองเชียงรุ้ง เชียงตุง เมื่อมีเศรษฐกิจดีผู้คนก็หลั่งไหลเข้ามาทำกิจการ แม้ขุนเขาที่สลับซับซ้อนเพียงใดก็ดั้นด้นเข้ามาค้นหาจนถึงที่ โดยมีทางรถไฟสายเหนือเอื้อประโยชน์การคมนาคม


เตียงนอนเจ้าพิริยเทพวงษ์

                 แต่กระนั้น ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและความเชื่อของชาวนครแพร่ ยังสืบสานผ่านกาลเวลามายาวนาน  ไม่เสื่อมสูญ  วัฒนธรรมการสร้างบ้านด้วยไม้สักและเครื่องเรือนสวยงาม ผ้าทอตีนจกเมืองลองขึ้นชื่อ หรือแม้แต่วัฒนธรรมประเพณีทางพุทธศาสนาก็ล้วนแต่ยังคงอยู่ ที่สุดวัฒนธรรมการกินการอยู่อย่างคนแพร่ ยังสืบสานตราบทุกวันนี้ 


เครื่องหนีบหัวเวลาสอบสวน

โซ่ล่ามนักโทษ

Tags : ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทยต้นที่ 14

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view