http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,994,930
Page Views16,303,242
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

อย่าดีแต่โม้ เรื่องลุ่มน้ำน่านวันนี้

อย่าดีแต่โม้ เรื่องลุ่มน้ำน่านวันนี้

อย่าดีแต่โม้ เรื่องลุ่มน้ำน่านวันนี้

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำน่าน  

            แม่น้ำน่านเป็นแม่น้ำสายหลักยาวที่สุดในประเทศไทยรวม 740 กม.ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,332.25 มม. ด้วยพื้นที่รองรับน้ำฝนทั้งลุ่มน้ำ 34,682.07 ตร.กม.(2535) (34,139.68ตร.กม.2547)จึงเกิดปริมาณน้ำท่า รายปีเฉลี่ย 12,199.63 ล้าน ลบ.ม.

            พื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ 42.83% ของพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น (14,850.44 ตร.กม.) เป็นป่าธรรมชาติ 10,811.78 ตร.กม. ป่าเสื่อมโทรม  2,749.88 ตร.กม. และเป็นพื้นที่ป่าปลูก 1,288.78 ตร.กม.   เฉลี่ยพื้นที่ป่าไม้ทั้งลุ่มน้ำน่านที่เหลืออยู่จริงเพียง  31.17% (หักพท.ป่าเสื่อมโทรมและป่าปลูกออก) น่าสงสัยไหมว่า ป่า 42.83% นั้น เหลืออยู่ตรงส่วนไหนของลุ่มน้ำน่าน

          

           ลุ่มน้ำน่านมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง-ขนาดใหญ่(ความจุ 30-100 ปริมาณ 25ล้าน ลบ.ม.) มากถึง 224 โครงการ  ความจุเก็บกัก 9,600.43 ล้าน ลบ.ม.  ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 1.103 ล้านไร่  และก็มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก 530 โครงการ ความจุเก็บกัก 30.67 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 1.127 ล้านไร่ โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 165 โครงการ พื้นที่รับระโยชน์ 0.280 ล้านไร่ เขื่อนขนาดใหญ่เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น 

           

           ทั้งลุ่มน้ำมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 12,199.63 ล้าน ลบ.ม. เก็บกักได้ทั้งหมด 9,631.10 ล้าน ลบ.ม. จึงมีปริมาณน้ำไหล(น้ำเหลือจากการเก็บกักไหลเลยไปและไม่ดูดซึมลงใต้ดิน)เลยทั้งสิ้นเฉลี่ยรายปี 2,568.53 ล้าน ลบ.ม. ส่วนจะดูดซึมลงไปเป็นน้ำใต้ดินเท่าไร ใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภคเท่าไร ระเหยกลับขึ้นไปเป็นเมฆเท่าไร คงต้องศึกษาวิจัยกันอีกยาวนาน


            พื้นที่ชลประทาน 2,510,295.00 ไร่ มีความต้องการน้ำทางด้านการเกษตรกรรม และอื่นๆ รวม 3,103.30 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม ยังเกิดการขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรกรรม ทั้งลุ่มน้ำ 68.18 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี แสดงว่า แม้เก็บกักได้ก็ไม่พอที่จะใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ ควรทำอย่างไรเพื่อสงวนน้ำที่ไหลเลยไปไว้ให้มากขึ้นอีก ควรมีเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กในแต่ละลุ่มน้ำย่อยเพิ่มหรือไม่ 


ข้อมูลพื้นฐานลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆ 16 ลุ่มน้ำของลุ่มน้ำน่าน     

            รวมพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน 34,139.68  ข้อมูลคำนวณและวิเคราะห์จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (2547) มาตราส่วนเท่าไรไม่ปรากฎ

            1.ภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประมาณ 1,400-1,900 ม.รทก. และมีลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำน่าน ห้วยน้ำเปือ น้ำกอน และน้ำปัว พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนกลางจะเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม รวม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนบน 2,224.77 ตร.กม.


            2.ลุ่มน้ำสาขาห้วยน้ำยาว(1) (0903) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสองแคว และอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประมาณ 1,000 ม.รทก. เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำยาว มีลำน้ำสายสำคัญ คือ น้ำยาว น้ำยอด และน้ำริม พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและตอนกลางจะเป็นภูเขาสูงที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ส่วนตอนล่างจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม  รวมพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาห้วยน้ำยาว 863.54  ตร.กม


               3.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 2 (0904) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเมืองน่าน อำเภอเวียงสา กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ส่วนตอนกลางและตอนล่างจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวแม่น้ำน่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 2 รวม 1,449.68 ตร.กม.


               4.ลุ่มน้ำสาขาน้ำยาว (0905) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอสันติสุข และอำเภอปัว จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงประมาณ 1,100-1,200 ม.รทก. ประกอบด้วย ลำน้ำสายสำคัญ คือ น้ำยาว และห้วยข้าวหลาม สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ และจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวห้วยน้ำยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำยาว รวม596.78 ตร.กม.


               5.ลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุน (0906) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนค่อนมาทางตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูง และมีพื้นที่การเกษตรกรรมผืนเล็กๆ ตามแนวน้ำสมุน พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุน รวม 583.55 ตร.กม.


               6.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3 (0907) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาหมื่น อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูงจะเป็นพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยตามแนวลำน้ำสายหลัก เป็นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3.รวม 3,376.98 ตร.กม.


                7.ลุ่มน้ำสาขาน้ำสา (0908) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เป็นต้นกำเนิดของน้ำสา ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากสันปันน้ำแบ่งเขตระหว่างอำเภอสา จังหวัดน่าน และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ สภาพภูมิประเทศมีระดับความสูงผันแปรจาก 700-1,300 ม.รทก. ที่ปลายลำน้ำช่วง 10 กม.สุดท้าย มีพื้นที่การเกษตรกรรมผืนใหญ่บนสองฝั่ง พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำสา รวม  753.62 ตร.กม.

               8.ลุ่มน้ำสาขาน้ำว้า (0909) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางตะวันออกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ อำเภอแม่จริม และอำเภอเวียงสา จ.น่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีพื้นที่การเกษตรกรรมเพียงเล็กน้อย พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำว้า รวม 2,203.64 ตร.กม.


                 9.ลุ่มน้ำสาขาน้ำแหง (0910) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีแม่น้ำสายลำคัญคือ น้ำแหง ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากสันปันน้ำบ้านขุนสถาน (แบ่งระหว่างลุ่มน้ำยมที่อำเภอร้องกวาง) ความสูง 900 ม.รทก. ไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งขวา มีพื้นที่การเกษตรกรรมเพียงเล็กน้อยตามที่ราบช่องเขา พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำแหงรวม 1,045.03 ตร.กม.


                 10.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 4 (0911) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อำเภอตรอน อำเภอท่าปลา อำเภอพิชัย อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาลาดชันบ้างเล็กน้อยบริเวณต้นน้ำรอยต่อกับลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม  พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านส่วนที่ 4 รวม 2,759.65 ตร.กม.


                 11.ลุ่มน้ำสาขาน้ำปาด (0912) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางเยื้องมาทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก และอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนิดของน้ำปาดซึ่งเกิดจากสันปันน้ำแบ่งเขตประเทศไทย-ลาว ความสูงประมาณ 900 ม.รทก. ในเขตอำเภอบ้านโคก สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีพื้นที่การเกษตรกรรมบริเวณที่ราบตามลำน้ำปาดด้านท้ายน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำปาด รวม 2,436.62 ตร.กม.

                 12.ลุ่มน้ำสาขาคลองตรอน (0913) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนิดของคลองตรอน ซึ่งต้นกำเกิดจากเทือกเขาภูเมี่ยงความสูง 1,200 ม.รทก. สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ และจะเป็นพื้นที่ราบตามแนวห้วยน้ำยาว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาคลองตรอน รวม  1,266.50 ตร.กม.


                   13.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย (0914) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอทองแสนขัน และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำแควน้อย เกิดจาก ภูหนอง ความสูง 1,200 ม.รทก. ในเขตอำเภอนครไทยซึ่งสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตกับอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสูงจะเป็นพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยตามแนวลำน้ำสายหลัก เป็นที่ตั้งอ่างเก็บน้ำแควน้อย พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำแควน้อย รวม 4,483.13 ตร.กม.

                   14.ลุ่มน้ำสาขาน้ำภาค (0915) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำภาค ซึ่งเกิดจากแนวสันปันน้ำชายแดนไทย-ลาว ความสูง 1,600 ม.รทก. ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยทางฝั่งขวาที่เขตติดต่อระหว่างอำเภอนครไทยและอำเภอชาติตระการ น้ำภาคช่วงปลายแม่น้ำที่ไหลผ่านอำเภอชาติตระการมีพื้นที่การเกษตรผืนใหญ่บนสองฝั่ง  พื้นที่ลุ่มน้ำสาขารวม 968.91 ตร.กม.


                15.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังทอง (0916) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้นกำเนิดของน้ำเข็ก ซึ่งเกิดจากสันปันน้ำกับห้วยน้ำหมันในเขตอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย ต้นน้ำสองฝั่งแม่น้ำเป็นที่สูงชันแล้วไหลผ่านช่องเขาแคบสูงชัน ไหลลงสู่แม่น้ำน่านทางฝั่งซ้ายท้ายที่ตั้งจังหวัดพิษณุโลก สภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ช่วงกลางและล่างจะเป็นพื้นที่ราบที่ใช้ทำการเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังทอง รวม 1,999.06 ตร.กม.

                16.ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนล่าง (0917) เป็นลุ่มน้ำสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่าน ครอบคลุมพื้นที่อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวังทรายพูน กิ่งอำเภอสากเหล็ก กิ่งอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร อำเภอเนินมะปราง อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอชนแดน อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยลำน้ำสำคัญหลายสาย เช่น คลองบุษบง ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาเนินมะค่า ความสูงประมาณ 1,000 ม.รทก. เป็นต้นสภาพพื้นที่จะเป็นภูเขาสูงช่วงตอนบนพื้นที่ลุ่มน้ำ ช่วงกลางและล่างจะเป็นพื้นที่ราบซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนล่าง รวม 7,128.22 ตร.กม.


บทวิเคราะห์ป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่  ต้องเหลืออยู่ตรงไหน

            จากอนุสนธิการศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ ร้อยละ 42.83 ของพื้นที่ลุ่มน้ำน่านนั้น (14,850.44 ตร.กม.) เป็นป่าธรรมชาติ 10,811.78 ตร.กม. ป่าเสื่อมโทรม  2,749.88 ตร.กม. และเป็นพื้นที่ป่าปลูก 1,288.78 ตร.กม.   หากมองเพียงตัวเลขดังกล่าว เหมือนว่า ลุ่มน้ำน่านมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่ในมาตรฐานของการกำหนดพื้นที่ป่าต้นน้ำ 25-40% ป่าไม้ลุ่มน้ำน่านดังกล่าวจึงน่าจะมีศักยภาพต่อระบบลุ่มน้ำ                  แต่ข้อเท็จจริง ป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ 10,811.78 ตร.กม. เหลืออยู่ตรงส่วนไหนของลุ่มน้ำน่าน และอยู่ตรงไหนของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆทั้ง 16 ลุ่มน้ำดังกล่าว  หากป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ปลายน้ำก็คงไม่ส่งผลกระทบกับระบบลุ่มน้ำอย่างแน่นอน  แต่ถ้าป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ดังกล่าวอยู่ตรงขุนต้นน้ำของลุ่มน้ำสาขา 16 สาขา จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพระบบลุ่มน้ำ

            ป่าเสื่อมโทรมจำนวน 2,749.88 ตร.กม. เป็นป่าเสื่อมโทรมส่วนไหนของลุ่มน้ำน่านและอยู่ตรงไหนของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆ 16 ลุ่มน้ำดังกล่าว ถ้าเป็นป่าเสื่อมโทรมบนขุนต้นน้ำ ก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบลุ่มน้ำอย่างมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ลุ่มน้ำส่วนใดก็ตาม สมควรปลูกป่าฟื้นฟูขึ้นมาทดแทนให้เหมือนป่าดั้งเดิมได้

           

            พื้นที่ป่าปลูก จำนวน 1,288.78 ตร.กม. เป็นป่าปลูกเพื่อเศรษฐกิจของกรมป่าไม้(ป่าสงวน) หรือเป็นพื้นที่ป่าปลูกไม้เศรษฐกิจของเอกชน(ที่ดินเอกสารสิทธิ์ โฉนด นส3.-นส.3ก หรือ สปก.4-01) ซึ่งไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ป่าปลูกทั้งสองประเภทดังกล่าวน่าจะอยู่ในพื้นที่ต่ำไม่ใช่ขุนต้นน้ำที่มีผลกระทบกับลุ่มน้ำหรือไม่  และอยู่ในส่วนไหนของแต่ละลุ่มน้ำ ป่าปลูกดังกล่าวนี้ จึงไม่มีผลกระทบต่อระบบลุ่มน้ำสาขาสำคัญๆ แต่ช่วยให้ประชาชนมีไม้ไว้ใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องไปลักลอบตัดจากป่าธรรมชาติ

            โปรดเข้าใจด้วยว่า คำว่าป่าต้นน้ำที่เหมาะสมต้องมีเหลืออยู่ในแต่ละลุ่มน้ำ 25-40% นั้น หมายถึง เป็นป่าต้นน้ำที่เหลืออยู่บนขุนต้นน้ำแต่ละลุ่มน้ำสาขาเท่านั้นจึงจะมีผลกระทบต่อศักยภาพของระบบลุ่มน้ำนั้นๆ   อาทิเช่น ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนบน พื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ 2,224.77 ตร.กม. มีลำน้ำสาขาคือ ลุ่มน้ำน่าน  ลุ่มน้ำเปือ  ลุ่มน้ำกอน และลุ่มน้ำปัว บนขุนต้นน้ำสาขา 4 สายดังกล่าวควรมีป่าต้นน้ำ 25-40%  ของแต่ละลุ่มน้ำสาขานั้นๆ


            หากทุกลุ่มน้ำสาขาสำคัญ มีป่าต้นน้ำบนขุนต้นน้ำดังกล่าวเหมือนๆกัน ภูเขาสูงอันเป็นเหมือนหัวของลุ่มแม่น้ำน่าน  ก็จะมีหมวกเป็นป่าสวมใส่ไว้รองรับและดูดซับน้ำจากฝนเอาไว้ดุจแทงค์น้ำขนาดยักษ์ ถึง 16 แทงค์  ถ้าป่าเสื่อมโทรมใดอยู่บนจุดสูงเหล่านี้ก็ต้องปลูกป่าฟื้นฟูมันขึ้นมาใหม่ เพียงเท่านี้ ก็จะมีน้ำไหลหลั่งตลอดปี มีให้ใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ ทุกเวลา และมีคุณภาพที่ดีปราศจากตะกอนดินและสารพิษตกค้าง

            ทำกันจริงจังหรือดีแต่พูดโม้กันไปตามกระแส  ป่าต้นน้ำเมืองน่านก็โล้นเหมือนเก่า


              เท่าที่ฟังถ้อยแถลงของแต่ละองค์กร ดูเหมือนว่าจะปลูกป่าตรงนั้น 500 ไร่ ตรงนี้ 1000 ไร่ ตรงโน้น 800 ไร่ ฯลฯ โดยไม่ได้กำหนดจุดที่ชัดเจนว่า ขุนต้นน้ำสมุน 583.55 ตร.กม.ต้องปลูกกี่ไร่ จึงจะได้ 25-40% ของลุ่มน้ำสมุน และต้องปลอดคนบนพื้นที่ที่ปลูกป่าฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

              ถ้าต้องปลูก 25% จะเท่ากับต้องปลูกป่าที่ขุนต้นน้ำสมุนอย่างน้อย 145.88 ตร.กม.x625 =91,179.69 ไร่  แต่ถ้าขุนต้นน้ำสมุนจุดดังกล่าว มีป่าธรรมชาติเหลืออยู่ด้วย ก็ปลูกน้อยลง แต่ถ้ามีแต่เขาหัวโล้นก็ต้องปลูกป่ามากตามสัดส่วน

              ถ้าต้องปลูก 40% จะเท่ากับต้องปลูกป่าที่ขุนต้นน้ำสมุนสูงสุด 233.42 ตร.กม.x625 =145,887.5 ไร่ แต่ถ้าขุนต้นน้ำสมุนจุดดังกล่าว มีป่าธรรมชาติเหลืออยู่ด้วย ก็ปลูกน้อยลง แต่ถ้ามีแต่เขาหัวโล้นก็ต้องปลูกป่ามากตามสัดส่วน

              ถ้ากำหนดแผนแม่บททั้งลุ่มน้ำได้อย่างนี้ แล้วทำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ  จะทำได้หรือไม่ นโยบายของรัฐแต่ละช่วงสมัยรวนเรแปรปรวนกลับไปกลับมา ป่าไม้ไม่ใช่ผักชี แต่มันคือป่าที่ต้องสร้างขึ้นนานนับสิบๆปี 

              ผลการวิจัยที่ม่อนอังเกตุ เชียงใหม่ ป่าปลูกสนสามใบ อายุ 12 ปี สภาพของดิน อินทรีย์วัตถุ ภูมิอากาศ ในบริเวณพื้นที่สวนป่าดังกล่าว มีคุณสมบัติเทียบเคียงป่าดงดิบตามธรรมชาติ เพียง 12 ปีป่าปลูกฟื้นสภาพนิเวศน์วิทยาได้ใกล้เคียงป่าดงดิบ ถ้าเมืองน่านฟื้นฟูป่าต้นน้ำได้เพียง 12 ปี ก็จะได้ป่าปกป้องต้นน้ำน่านถาวรและมีศักยภาพของคำว่าป่าต้นน้ำสมบูรณ์  



Tags : นกหกเล็กปากแดง

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view