http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,024,174
Page Views16,333,777
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

พม่าไม่ไปไม่รู้ โดยเอื้อยนาง ตอน๓ เทพนัตในพุทธสถาน

พม่าไม่ไปไม่รู้ โดยเอื้อยนาง  ตอน๓ เทพนัตในพุทธสถาน

พม่าไม่ไปไม่รู้ ๓

เทพ นัต ในพุทธสถาน

                                 โดยเอื้อยนาง เรื่องและภาพ

 

            ครั้งหนึ่ง เมื่อมีโอกาสไปชมสวนกล้วยไม้ใหญ่แถบนครปฐม  เห็นมีกล้วยไม้ตัดไว้เตรียมแพ็คส่งมากมายให้แปลกใจจนอดถามไม่ได้ว่า  “ส่งออกหรือ”

            “ใช่ครับดอกไม้เหล่านี้ส่งไปพม่า”

            “พม่า...” 

            “ใช่ พม่า หรือ เมียนม่าร์นั่นแหละครับ”

            คำตอบนั้นให้ความรู้สึกฉงนเป็นอย่างยิ่ง  สงสัยใคร่รู้ว่าพม่าสั่งดอกกล้วยไม้ไปทำไมมากมาย  ก็ดูซีกองเทินเป็นภูเขาเลากาล้วนตัดมาใหม่ ๆ

            “เขาเอาไปไหว้พระครับ”           

                   

                                         ศาลนัตที่ยื่นล้ำออกสู่น่านนัำใกล้เจดีย์

             ไม่แปลกใจเลยเมื่อได้มาพม่าจริง ๆ เพียงวันแรกที่ได้เข้าไปคารวะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียงสามแห่งก็ได้เห็นแล้วว่าศรัทธาของคนที่นี่ต่อพุทธศาสนาเหนียวแน่นเพียงไร  ดอกไม้แทบทุกชนิดดูเหมือนจะบินลอยมารวมใจกลางมหาสถานแห่งความศรัทธาแต่ละแห่ง ๆ ความศรัทธานี้ยังมีเทพนัต  หรือ แนตอีกอย่างที่อยู่คู่ขนานไม่เคยผันแปรห่างหาย

 

พระพุทธรูปแสนงาม เจดีย์อร่ามเรือง คือเมืองพม่าละ

            หากจะพูดถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์คงไม่มีเหตุการณ์ใดๆ ในประวัติศาสตร์พม่าที่นำมาแห่งความชอกช้ำ  และความล่มสลายทางวัฒนธรรมยิ่งไปกว่าการสูญ

เสียราชวงศ์  และสถาบันพุทธศาสนาให้แก่อังกฤษ-อินเดียได้อีกแล้ว  แต่โดยธรรมชาติแห่งสังคมมนุษย์โลกแล้ว  กี่อาณาจักรในโลกที่ล่มสลายไป  หากแต่ประชาชนยังคงอยู่  จิตวิญญาณของผู้คนไม่เคยเสื่อมสูญไป  จึงมีอาณาจักรใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นยุค ๆ กาลเวลายังคงทำหน้าที่ของมันอย่างซื่อสัตย์

            อย่างราชวงศ์สุดท้ายของพม่าที่วันนี้สูญสลายไปก็ยังมีรัฐทหารปกครองเป็นปึกแผ่น  จิตวิญญาณและศรัทธาของปวงชนยังคงอยู่มอบไว้แด่สิ่งที่เหนืออำนาจทั้งปวงจะครอบคลุมไปถึง  พระพุทธรูปแสนงาม  เจดีย์อร่ามเรือง  งามประเทืองเทพนัตยังยืนหยัดมั่นคงในศรัทธาตลอดมา

                 

                                             มุ่งสู่ศาลนัต

            “นัต” หรือ “แนต”  ในความหมายของชาวพม่าคือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์แม้ไม่ถึงขั้นเทพแต่ก็เหนือกว่าภูตผีทั้งปวง  เป็นความเชื่อเดิมที่มีมาก่อนพุทธศาสนา นัต คือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่พึ่ง  ช่วยปกป้องคุ้มครอง  อวยชัยให้พรแก่ผู้เคารพ กราบไหว้ บูชา มีการสร้างรูปเคารพแห่งนัตและศาลนัตอยู่ทั่วไป นัตผู้เป็นใหญ่ที่สุดคือ  “มิงมหาคีรีนัต” สถิตอยู่ที่ภูเขาโปปาใกล้พุกามตั้งแต่อาณาจักรนั้นรุ่งเรือง   และพุทธศาสนาที่แผ่เข้ามาในพม่าช่วงแรกก็คือนิกายตันตระซึ่งตีความหมายของคำสอนของพระพุทธองค์ไปถึงว่าการเสพสุรา  และเมถุนเป็นหนทางสู่นิพพาน  ในขณะที่อาณาจักรมอญซึ่งตอนนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “สะเทิม” (สุธรรมวดี)  พุทธศาสนานิกายเถรวาทกำลังรุ่งเรือง

                  

                                            นัตองค์หนึ่งที่เยเลพญา

            ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐  พระเจ้าอโนรธาแห่งพุกามได้ยกกองทัพไปตีเมืองสะเทิมของมอญ ชิงเอาคัมภีร์พระไตรปิฎกจากกษัตริย์มอญ  ทำการสถาปนาพุทธศานานิกายเถรวาทขึ้นเป็นครั้งแรกในพุกาม  ทรงให้ทำลายลัทธิบูชานัต  ทำลายศาลนัตที่มีอยู่ทุกบ้าน  จับคนทรงมาประหาร  ยกเลิกประเพณีไหว้เทพนัตที่ภูเขาโปปา  ลดบทบาทของนัตให้มาทำหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนาแทน  ตั้งท้าวสักกะ หรือ พระอินทร์ขึ้นเป็นหัวหน้านัตแทน มิงมหาคีรีนัต  ย้ายนัตทั้งมวลมาไว้ที่หอนัตภายในบริเวณมหาเจดีย์ ชเวซิกอง  นั่นเองเป็นเหตุให้เทพนัตกับพระพุทธศาสนาได้รับการนับถือคู่กันมาในหมู่ประชาชน มีการสร้างรูปปั้นแห่งนัต หิ้งนัตขึ้นไว้ประจำบ้านของตนเพื่อกราบไหว้คู่กับการไหว้พระพุทธซึ่งได้รับการนับถืออย่างสูง  ทำให้งานศิลปกรรม  สถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาของพุกามเฟื่องฟู  เพียงชั่วสองศตวรรษต่อมานครอันลือนามนี้ก็สะพรั่งไปด้วยสถูปเจดีย์สูงใหญ่ทั้งรูปทรงและขนาดนับจำนวนเป็นพัน ๆ มาจนถึงปัจจุบันแม้นครนั้นจะร้างไปแต่ยังคงมีซากเจดีย์โบราณสถานเหลืออยู่หลายพันแห่ง  อิทธิพลศิลปะอินเดีย – มอญผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่นกลายเป็นความโดดเด่นอลังการ  เป็นมรดกอันน่าตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ได้มาเยือนยลเป็นผลพลอยได้ให้ลูกหลานรุ่นปัจจุบันมีรายได้จากผู้คนที่หลั่งไหลมาด้วยศรัทธา  บริเวณโดยรอบเจดีย์แต่ละแห่งนอกจากวิหารแล้วจึงมักมีศาลที่สถิตแห่งนัตองค์ต่าง ๆ อยู่อย่างน้อยหนึ่งศาลให้ผู้คนได้กราบไหว้ขอพร

          

                                 ดอกไม้หลายหลากไหว้ทั้งพระและนัต

            ณ ที่เจดีย์เยเลพญา  เจดีย์กลางน้ำแห่งเมืองสิเรียมที่คุณติ๊กพาลงเรือมาไหว้

วันนี้  นอกจากวิหารรอบ ๆ เจดีย์แล้ว ก็ยังมีศาลสร้างยื่นออกไปในน้ำ อีก 

คือศาลพระอุปคุตปางจกบาตร  และศาลเทพนัต ซึ่งเราอ่านภาษาพม่าไม่ออกจึงไม่รู้จักชื่อ  เห็นแต่ชาวพม่ามากมายหลากหลายหน้าตา อายุ เข้ากราบไหว้ ดอกไม้  และตะกร้าเครื่องบูชาตั้งอยู่เรียงรายล้นหลาม  

                          

                                            สาวพม่าพันธุ์แท้...?

                                                                 ๐๐๐

 

           

           

           

 

 

 

 

 

 

Tags : พม่าไม่ไปไม่รู้ เอื้อยนาง Outbound travel

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view