http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,001,879
Page Views16,310,685
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

PDP 2010 อุ้ม”ไทย”พ้นวิกฤติพลังงานโลก โดยภาวิณีย์ เจริฐยิ่ง

PDP 2010 อุ้ม”ไทย”พ้นวิกฤติพลังงานโลก     โดยภาวิณีย์ เจริฐยิ่ง

                                PDP 2010  "อุ้มไทยพ้นวิกฤตโลก"

                                                       โดยภาวิณีย์ เจริญยิ่ง  /เรื่อง

             ช่วงหลายสิบปีมานี้เราๆท่านๆคงได้ยินข่าวคราวของปัญหาวิกฤติพลังงานโลกกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนเพราะในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องพึ่งพิงอาศัยพลังงานที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ ที่เห็นชัดๆก็คือ  น้ำมันปิโตรเลี่ยม และกระแสไฟฟ้า (ต้องใช้พลังงานผลิต) ฯลฯ และเมื่อใดก็ตามที่น้ำมันโลกราคาสูงขึ้น ข้าวของทั้งอุปโภคและบริโภคก็จะขยับราคาขึ้นตาม อันเป็นผลกระทบโดยตรงที่ประสบพบเจอกันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนับวันราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแต่จะสูงขึ้น  โดยกลุ่มประเทศโอเปคเป็นผู้กำหนดกลไกราคา และยิ่งเกิดภาวะสงครามในภูมิภาคตะวันกลาง เป็นอันรู้กันดีว่าน้ำมันโลกถีบตัวสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

            ปัญหาวิกฤติพลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ไขรวมทั้งร่วมกันอนุรักษ์พลังงานให้มีใช้กันได้อย่างยั่งยืนต่อไป เพราะพลังงานที่มีอยู่ในโลกเวลานี้ส่วนหนึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปที่เรียกว่าพลังงานสิ้นเปลืองหรือพลังงานฟอสซิล  เช่น น้ำมัน รวมถึงหินน้ำมัน ทรายน้ำมัน  ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ อีกประเภทหนึ่งเรียกว่าพลังงานหมุนเวียน เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ พลังงานชีวมวล และก๊าซชีวภาพ

            ในส่วนของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ถือป็นหนึ่งในพลังงานและเชื้อเพลิงที่สำคัญของโลก ซึ่งทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ จะพบเกิดร่วมกับหินตะกอนที่ในทะเลเสมอ

            ทำไม...น้ำมันปิโตรเลียมแพงจึงกระทบผู้คนทั่วโลก เหตุผลง่ายๆก็เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญไม่ว่าจะในครัวเรือนหรือในระบบอุตสาหกรรมต่างๆ อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งพลังงานที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าก็มีหลากหลายไม่ว่าจะเป็นน้ำ น้ำมันปิโตรเลี่ยม ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังน้ำ. โดยในส่วนของก๊าซธรรมชาตินั้นนอกจากจะใช้ประโยชน์ในการเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถใช้สำหรับหุงต้มประกอบอาหารและใช้ในยานพาหนะได้อีกด้วย

           ทั้งนี้แม้ในอ่าวไทยจะมีก๊าซธรรมชาติอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ไปได้ตลอดไม่มีวันหมดสิ้น มีการประมาณกันว่าสามารถใช้ได้ไม่เกิน 20 ปี ในขณะเดียวกันบ้านเรายังต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าอีกด้วย รวมถึงการจัดซื้อกระแสไฟฟ้าจากประเทศลาว

             หากย้อนกลับไปดูในอดีตคนไทยเองก็เคยประสบปัญหาน้ำมันแพงมาแล้วหลายครั้งหลายครา ถึงขั้นรัฐบาลบางยุคบางสมัยออกเป็นนโยบายเป็นมาตรการให้ลดการใช้พลังงาน เช่น ปิดปั๊มแค่เที่ยงคืน มีการรณรงค์ให้หันมาใช้ระบบขนส่วมวลชนแทนการใช้รถส่วนตัว และให้ปิดไฟปิดแอร์ในช่วงพักกลางวันฯลฯ

              ทีนี้ถ้ามาพิจารณาแนวโน้มสถานการณ์พลังงานทั่วโลกในอนาคต สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ประเภทพลังงานฟอสซิลเริ่มลดน้อยถอยลงและราคาจะแพงขึ้น ดังนั้นประเทศต่างๆจึงหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา เยอรมนี หรือแม้กระทั่งจีนที่มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก หลายประเทศหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และลมอย่างเป็นล่ำเป็นสัน  จีนเองผลิตแผงโซลาร์เซลล์มากเป็นอันดับหนึ่ง และส่งเสริมให้ประชากรใช้กันอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ถูกลง  ในส่วนของประเทศไทยก็มีนโยบายที่จะใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น  

             นับเป็นเทรนด์ใหม่ในเรื่องการใช้พลังงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

           นอกจากนี้ประเทศต่างๆยังนำน้ำจากเขื่อนมาผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งการสร้างเขื่อนก็มีประโยชน์มากมาย อาทิ ใช้ในระบบชลประทาน ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย เป็นแหล่งประมงน้ำจืด รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ

            จากปัญหาวิกฤติพลังงานดังกล่าว กระทรวงพลังงานในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ดี เพราะในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573   ( Power Development Plan :PDP 2010)   อันเป็นแผนจัดหาไฟฟ้าในระยะยาว 20 ปี ได้มุ่งเน้นความมั่นคงของกำลังการผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้า และเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้เกืดความโปร่งใส

   

           นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และการลงทุนขยายกิจการผลิตไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ  ตลอดจน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในด้านการจัดหาไฟฟ้าของประเทศจากโครงการที่มีความชัดเจนทั้งทางด้านกำลังการผลิตไฟฟ้าและกำหนดการจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เข้าระบบ และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกระทรวงพลังงาน รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพฯลฯ

             นับแต่นี้เป็นต้นไปคงต้องติดตามกันว่าแผน PDP 2010 จะทำให้คนไทยได้รับประโยชน์มากน้อยไค่ไหน  

             ในสภาวะที่ทั่วโลกต่างเจอปัญหาวิกฤติพลังงาน หลายประเทศต่างตื่นตัวที่จะศึกษาค้นคว้าทดลองนำพลังงานหมุนเวียนต่างๆมาทดแทนพลังงานซอสซิลหรือพลังงานใต้พิภพ(พวกน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ) ที่นับวันจะหมดไปและมีราคาแพงขึ้น ซึ่งปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย หรือจีนก็ตามฯลฯ หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนกันในปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว ในอนาคตหากมีการใช้พลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆย่อมถูกลงอย่างแน่นอน

              พูดถึงพลังงานหมุนเวียน บางท่านอาจจะไม่เข้าใจลึกซึ้ง แต่หากจะว่ากันไปแล้ว การใช้พลังงานหมุนเวียนนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด เพราะในสมัยโบราณก็มีการใช้ประโชน์จากพลังน้ำ พลังลม(การใช้กังหันลมในนาเกลือ) และพลังแสงอาทิตย์กันอยู่แล้ว เพียงแต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าเช่นในปัจจุบัน การนำพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวมาใช้อาจจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า

               ทั้งนี้พลังงานหมุนเวียน ยังรวมถึงพลังงานชีวมวล(Biomass)  และก๊าซชีวภาพ(Biogas) ด้วย ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนในหลากหลายรูปแบบนี้สามารถนำไปทดแทนพลังงานซอสซิลได้อย่างดีทีเดียว

               ในบรรดาประเทศที่มีนโยบายและส่งเสริมการใช้พลังงานลมอย่างจริงจังก็คือ สหรัฐอเมริกา และเดนมาร์ค โดยเดนมาร์คนั้นมีการส่งออกเทคโนโลยีกังหันลม  ขณะที่เยอรมนีก็ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน และยังตั้งเป้าเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมด้านพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียจีนและอินเดียก็เป็นสองประเทศที่มีการใช้พลังงานลมมากขึ้น

               อย่างไรก็ตามในประเทศไทยการใช้พลังงานลมในหลายพื้นที่อาจจจะมีปัญหา เนื่องจากปริมาณของลมไม่สม่ำเสมอตลอดปี แต่ยังคงมีบางพื้นที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล

              ส่วนพลังงานน้ำนั้น ปัจจุบันส่วนมากถูกนำไปใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำช้ในการชลประทานอีกด้วย

              สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์จัดเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูง ปราศจากมลพิษ อีกทั้งเกิดใหม่ได้ไม่สิ้นสุด หลายประเทศทั้งซีกโลกตะวันออกและตะวันตกล้วนรณรงค์สนับสนุนให้มีการใช้พลังงานดังกล่าวอย่างแพร่หลาย และตอนนี้มีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์โดยตรงหรือเรียกกันย่อๆว่า “โซลาร์ พีวี”Solar Photovoltaic Power” อันเป็นเทคโนโลยีที่มีการนำไปใช้มากที่สุดกว่าร้อยประเทศในโลก เพราะสามารถดึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้โดยตรง ซึ่งในญี่ปุ่น เยอรมนีและสเปนมีการใช้โซลาร์ พีวี กันอย่างกว้างขวาง ขณะที่จีนเองเมื่อปีก่อนก็เป็นผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ขายในตลาดโลกมากถึง 40 เปอร์เซนต์ และยังส่งเสริมให้ประชากรหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใครไปเมืองจีนในช่วง5-6 ปีนี้ จะเห็นแผงโซลาร์เซลล์ตามบ้านเรือนในชนบทเยอะแยะไปหมด

              ในบ้านเรารัฐบาลก็มีนโยบายส่งเสริมให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เช่นเดียวกัน แต่ประชาชนก็ยังไม่นิยมใช้กันมากนัก เนื่องจากการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ยังมีราคาสูง อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่จ.พระนครศรีอยุธยา

              ในส่วนของก๊าซชีวภาพ หรือไบโอก๊าซนั้น เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน โดยทั่วไปจะหมายถึง ก๊าซ มีเทนที่เกิดจากการหมักของสารอินทรีย์ ซึ่งกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง นับเป็นวิธีการที่นิยมในการเปลี่ยนของเสีย ประเภทอินทรีย์ทั้งหลายไปเป็นกระแสไฟฟ้า

           สำหรับพลังงานชีวมวล ถือเป็นพลังงานทดแทนในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยนำเศษวัสุดจากเกษตรมาหมักเป็นก๊าซ ไม่ว่าจะเป็นแกลบ ซังข้าวโพด ไม้ ขยะหรือมูลสัตว์ ก๊าซที่เกิดขึ้นสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการทำความร้อน หรือปั่นเครื่องยนต์และไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงราคาถูก โดยเยอรมนีถือเป็นประเทศผู้นำในการใช้พลังงานชีวมวลเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการปั่นไฟฟ้า

               ในประเทศไทยก็มีการตื่นตัวในการใช้พลังงานชีวมวล โดยได้มีการตั้งโรงงานไฟฟ้าชีวมวลที่ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร คาดว่าจะสร้างเสร็จและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในต้นปี 2554 จะเห็นได้ว่าเวลานี้ทุกประเทศต่างหันมาใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น เช่น รัฐบาลของหลายประเทศรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้ไบโอดีเซล(Biodiesel) เพื่อลดปัญหาการใช้น้ำมันลง บางคนอาจจะสงสัยว่าไบโอดีเซลทำมาจากอะไร

               อธิบายสั้นๆกระชับๆ “ไบโอดีเซล”เป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก ที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้ คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

               พลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือ พลังงานไฮโดรเจน ถือได้ว่าเป็นพลังงานเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง, สะอาด, และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คาดหมายกันว่าในอนาคตจะเป็นแหล่งของพลังงานเชื้อเพลิงที่สำคัญ

             นอกจากนี้พลังงานขยะก็มีแนวโน้มว่าจะมีการใช้กันอย่างกว้างขวางต่อไป เพราะสามารถใช้ได้ทั้งในรูปผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อน โดยที่อาจจะมีการใช้ประโยชน์ในสถานที่ผลิตเชื้อเพลิงขยะ หรือขนส่งไปใช้ที่อื่น พร้อมกันนั้นยังสามารถใช้เผาร่วมกับถ่านหิน เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินในอุตสาหกรรมบางประเภท

              พลังงานอีกอย่างที่บ้านเรายังไม่ได้นำมาใช้ก็คือ พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ในโลกและประเทศที่พัฒนาแล้วต่างก็สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น รัสเซียสหรัฐอเมริกา และเยอรมนีฯลฯ

              นิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่สำคัญและส่งผลกับสภาวะเศรษฐกิจของโลกในขณะนี้

              แน่นอน พลังงานนิวเคลียร์แตกต่างจากปรมาณู ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการนะระเบิดปรฒาณูมาใช้ในสงครามโลก ทำให้คนทั่วโลกต่างหวาดกลัวพิษภัยของมัน และทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าพลังงานนิวเคลียร์ก็คือปรมาณูนั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว…. ไม่ใช่ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

              ล่าสุดเวียดนามประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ประกาศต่อชาวโลกแล้วว่ามีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งในไม่อีกกี่ปีข้างหน้า ขณะที่เมืองไทยก็มีแผนจะสร้างนานแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นรูปธรรม เพราะบางฝ่ายอาจจะได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐจะต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้ประชาชนเห็นถึงผลดีของการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก่อน ซึ่งถ้าได้รับทราบตรงกันว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ล้วนก่อให้เกิดเป็นผลประโยชน์ต่อส่วนใหญ่ในประเทศ และไม่ได้มีปัญหาน่ากลัวอะไร เชื่อว่าทุกคนคงสนับสนุนแน่นอน

Tags : คืนป่าสู่แผ่นดิน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view