http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,961,111
Page Views16,267,475
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

มูลนิธิโครงการหลวงชวนเชิญไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ม่อนเงาะ ชมวิชีวิตคนบนเขา โดยธงชัย เปาอินทร์ /ภาพ-เรื่อง

มูลนิธิโครงการหลวงชวนเชิญไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ม่อนเงาะ ชมวิชีวิตคนบนเขา  โดยธงชัย เปาอินทร์ /ภาพ-เรื่อง

มูลนิธิโครงการหลวงชวนเชิญ

ไปท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่ม่อนเงาะ ชมวิถีชีวิตคนบนเขา 

  โดยธงชัย เปาอินทร์ /ภาพ-เรื่อง

                ผลพวงจากการเดินทางไปชมการเปิด "เทศกาลดอกไม้บาน ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์" อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวงได้กรุณาพาไปชมงานพัฒนาอีก 3 แห่งคือ ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ  ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่หลอดและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางแดง  ที่เปิดให้ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  ได้ชมวิถีชีวิตคนบนเขาถึงสี่ชนเผ่าคือ ชนคนเมือง(ล้านนา)  ชนเผ่าปกากะยอ ชนเผ่าปะหล่องและม้ง(มองโกล) ไปครั้งเดียวได้กำไรท่วม

                  ถนนขี้นม่อนเงาะ                                  บ้านเหล่า คนพื้นเมือง

           การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่แตง(107) แต่พอถึงถนนเลี่ยงเมืองแยกซ้ายมือไปบนถนนแม่มาลัย-ปาย( 1095)  อีก 10 กม.ถึงวัดสบเปิงฝั่งซ้ายมือ แต่มีทางแยกขวามือไปศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ ระยะทาง 10 กม. รวมเบ็ดเสร็จจากเชียงใหม่ถึงโครงการ 67 กม. ใช้เวลาเดินทางเพียง 2 ชั่วโมง สบายๆ 

            

                                   ผืนป่าอนุรักษ์ที่โครงการหลวงม่อนเงาะ

           ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ  ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แห่งนี้มีหัวหน้าเกรียงศักดิ์ นามวงศ์พรหม  โทร.084-7407449  เป็นผู้บริหารโครงการได้จัดรถกระบะของชาวม้งม่อนเงาะมารอรับเพื่อเดินทางขึ้นไปยังหมู่บ้าน  หนุ่มม้งคนนี้ชื่อ ซะ  แซ่ย่าง  โทร.086-1794780  เขาเป็นประธานกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านม่อนเงาะ แต่งองค์ทรงเครื่องด้วยชุดหนุ่มม้ง เท่ระเบิดเทิดเทิงไม่เบา  มีเพื่อนร่วมมาด้วยอีกหนึ่งคนคอยบริการ 

                  หัวหน้าเกรียงศักดิ์                                   หนุ่มซะ แซ่ย่าง

            ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ ตั้งมาเมื่อปีพ.ศ.2528 โดยดำริของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ด้วยว่าชนเผ่าม้งบ้านม่อนเงาะทำไร่เลื่อนลอยบนที่สูง ตั้งแต่ระดับ 800-1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  หากยังปล่อยให้ชนเผ่าม้งดำรงวิถีชีวิตเช่นที่เป็นอยู่อาจจะเกิดความเสื่อมโทรมของผืนป่าต้นน้ำ จึงได้ตั้งโครงการหลวงดังกล่าวเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนเผ่าม้งให้อนุรักษ์ผืนป่าและทำกินบนที่ดินเดิมด้วยความรู้และเทคโนโลยี  

              กล้วยป่า..สารพัดประโยชน์                 อาหารมื้อกลางวันบนดอยสูง 1,300 เมตร

            หลังจากการพัฒนาผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ ชนเผ่าม้งบ้านม่อนเงาะได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการทำไร่เลื่อนลอย (และฝิ่น)มาเป็นไร่ส้มสีทองและส้มโชกุน ตลอดจนปลูกพืชผักเมืองหนาวราคาแพงส่งตรงให้กับโครงการหลวงอย่างสม่ำเสมอ วันนี้ ชนเผ่าม้งบ้านม่อนเงาะอยู่ได้  มีรายได้มั่นคงจากการเกษตรกรรม และกำลังพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งบ้านม่อนเงาะมีอากาศที่หนาวเย็นตลอดปี ชาวม้งยังอนุรักษ์วิถีชีวิตชนเผ่า วัฒนะธรรมการแต่งตัว และศิลปะการแสดงไว้ได้อย่างเหนียวแน่น 

ลานเล่นรอบกองไฟและกางเต็นท์

            ระหว่างที่นั่งรถไต่ระดับความสูงขึ้นทีละนิดๆ หนุ่มซะเล่าว่า

            "บ้านเหล่าที่เห็นเบื้องหน้านี้เป็นคนพื้นเมือง เขาปลูกต้นเมี่ยง ทำเมี่ยง มานานนับหลายชั่วอายุคน เป็นชุมชนที่เงียบสงบและอยู่กันฉันพี่น้อง เขาไม่ขึ้นไปทำกินบนเขาสูง แต่ทำกินที่ต่ำกว่าชนเผ่าม้ง  ลูกหลานม้งก็ลงมาเรียนหนังสือร่วมกับชนพื้นเมืองที่บ้านเหล่านี่แหละ เป็นเพื่อนซี้กันหลายคู่ นอกจากนี้ยังมีจุดร่วมคือเราจะอนุรักษ์ผืนป่าไว้ตลอดไป" 

             รถยนต์แล่นขึ้นไปด้วยความเชี่ยวชาญการขับขี่ ผมได้เห็นกล้วยป่าตริมทาง  ผสมกลมกลืนไปกับผืนป่าธรรมชาติ หนุ่มซะเล่าต่อว่า

             "กล้วยป่ามีประโยชน์มาก ใบใช้เป็นวัสดุห่อพืชผัก  ปลีกล้วยใช้ปรุงอาหาร  เช่นเดียวกับหยวกกล้วย  พืชชนิดไหนกินได้เราก็กิน พืชชนิดไหนเป็นพิษเราก็ไม่กิน  ในป่าดงดิบอย่างนี้มีพืชผักให้กินได้หลายอย่างครับ ส่วนสัตว์ป่าเราก็เลิกไล่ล่า มีอาหารมาขายมากกว่า"   

                คล้ายภูชี้ฟ้าไหม                                           นี่ก็อีกมุมหนึ่ง 

            รถยนต์แล่นผ่านหมู่บ้านม่อนเงาะที่สร้างอยู่สองฝั่งถนน พอถึงจุดสุดท้ายปลายดอยม่อนเงาะ ก็จอดเข้าที่ พื้นที่ที่เห็นเป็นพื้นที่โล่งแจ้ง  มีไม้ปีกทำเป็นม้านั่งเพื่อเล่นรอบกองไฟ  มุมหนึ่งเป็นห้องสุขาชาย-หญิง ต้นไม้รอบๆเนินนี้มีต้นเสี้ยวดอกขาวมากเป็นพิเศษ ต้นปรงป่าก็มีให้เห็นเป็นระยะ  เสียงเจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะก็เชิญชวนให้รับประทานอาหารกลางวันก่อนจะเดินไปชมผาสูงเด่นคล้ายๆภูชี้ฟ้าอะไรทำนองนั้น 

                     น่าห่วงป่าจะแหว่ง                             น่าห่วงป๋าจะแก่ อิอิ

              อาหารที่วางให้เลือก ห่อด้วยใบตอง และใบพืชคล้ายๆใบคล้าป่า กับข้าวที่จัดมาให้ก็มี ไส้อั่ว  หมูทอด  น้ำพริกตาแดง ผักลวก น้ำพริกน้ำเมี่ยง(เคี่ยวจากน้ำหมักเมี่ยงอร่อยจริงๆ) และขาดไม่ได้ก็ข้าวเหนียวสีครั่ง ผมเห็นก็น้ำลายสอพอดี กินจนอิ่มชนิดไม่รู้ตัว หมดข้าวเหนียวไปสองห่อ ผมเหลียวมองพื้นที่รอบๆ กะว่าจะแอบไปงีบสักอึดใจ แต่ได้ยินเสียงอนงค์หนึ่งพูดผ่านโทรโข่ง

             "กินอิ่มแล้วเชิญทางนี้เลยนะเจ้า"

              ฮ่วย!! กำลังว่าจะงีบสักนิด อีน้องนี้ใจดำหลาย บังคับแกมขู่ให้เดินไปชมสถานที่ที่เขาภูมิใจกันนักหนา 

              ผมนึกถึงคำพูดของแม่บ้านเหมือนหูแว่วๆ

              "กินอิ่มแล้วนอนจะทำให้กรดไหลย้อน ไม่ดีต่อสุขภาพ ต้องเดินหรือไม่ก็นั่งหรือยืนสัก ครึ่งชั่วโมงจึงล้มตัวลงนอน" ตามมาหลอกหลอนถึงบนยอดดอยเลยนิ ตัดใจลุกตามเสียงเรียกดีกว่า  

                  น้องบุ๋ม..บุ๋ม                                           ปรงเขา..สวยมาก

              ผมสลัดความคิดออกแล้วลุกขึ้นเดินเหยาะๆแหยะๆตามหนุ่มๆสาวๆเขาไปจนถึง เดินช้าก็ต้องลีลากันหน่อย ทำทีว่ามองวิวทิวทัศน์บ้าง ถ่ายรูปต้นปรงบ้าง บ่นว่าช่วงต้นเสี้ยวดอกขาวบานน่าจะสวยนะ เพราะว่ามีต้นเสี้ยวดอกขาวเป็นดงเลย จัดงานวันดอกเสี้ยวบานได้สวยอลังการ  บนสันดอยลูกนี้เห็นทัศนะวิสัยกว้างขวางดีแท้ เห็นทั้งผืนป่าที่หนาแน่นไปด้วยพืชพันธุ์ และก็เห็นผืนป่าที่แหว่งเป็นจุดๆ นึกในใจ หากโครงการหลวงไม่เข้ามาพัฒนา ป่านฉะนี้คงเป็นภูเขาหัวโล้นเสียแน่แท้

             

                                           สื่อมวลชนและผู้รอต้อนรับคณะ

             บนเนินเขาสุดท้ายปลายดอยได้ถ่ายรูปไว้หลายมุม ล้วนสร้างจินตนาการได้เลยว่า ถ้ามาหน้าหนาวจัดๆ ต้องมีทะเลหมอกสวยแน่ๆ

             "หน้าหนาวกับหน้าฝน จะมีทะเลหมอกฟุ้งกระจายไปทั้งหุบเขาค่ะ" อนงค์หนึ่งกล่าวขึ้น

             "ท่าจะจริง ดูๆไปก็คล้ายกับภูชี้ฟ้าเหมือนกันนะ" 

             "ชนเผ่าม้งเลิกทำไร่เลื่อนลอยแล้ว พวกเราปลูกส้มสีทองและส้มโชกุน พืชผักอายุสั้นๆก็ผักที่โครงการหลวงแนะนำ" หนุ่มซะเล่าเพิ่มเติมเหมือนตอกย้ำ 

                    

                                           ครัวในบ้าน......ช่วยให้อบอุ่น

             ถ่ายรูปจนหนำใจ ก็ถึงเวลาลงมาชมวิถีชีวิตชุมชนชาวม้ง บ้านหลายหลังเปลี่ยนเป็นบ้านเหมือนคนพื้นล่างอยู่อาศับ ชั้นเดียวก็มี สองชั้นก็มี แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ยังสร้างด้วยไม้ไผ่เป็นฝา หลังคามุงหญ้าคา ทุกบ้านมีกระทะใบบัวอยู่ข้างใน 

             "กระทะใบบัวเอาไว้ต้มข้าวให้หมูกิน" 

             "ส่วนหินสามเส้านั้นใช้ปรุงอาหารการกิน" 

                     ชุดเท่ๆ..หนุ่มม้ง                              โม่โบราณ...ใช้ร่วมกัน

             นอกจากนั้นผู้เฒ่าชาวม้งยังแสดงดนตรีด้วยลีลาน่ารักให้ชมเป็นขวัญตา  ถัดจากนั้นก็ได้เห็น "โม่" แป้งข้าวโพด ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ใช้กันมาหลายชั่วอายุคน  หัวหน้าพาพวกเราไปชมกล้วยไม้พันธุ์ซิมบิเดียม จากประเทศจีน เพื่อพัฒนาเป็นไม้ตัดดอกออกจำหน่ายต่อไป คณะได้รับความรู้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแล้วก็รู้สึกว่า

               น่ามาเที่ยวอีกสักครั้ง แต่อยากนอนที่ม่อนเงาะมากกว่านอนในโรงแรม 

             

                                           สวนส้มม้งและแปลงปลูกผัก

             คณะได้พาพวกเราไปที่สวนชาของลุงเดช  ได้ฟังคำอธิบายเรื่องการคัดเลือกพันธุ์ชาที่เหมาะสม  การเพาะกล้า  การปลูกและบำรุง ตลอดจนการเก็บใบชา ประเภทชาก้านอ่อน และชาแก่เหมากิโล ซึ่งจะถูกนำไปทำชาราคาถูกที่ใช้ชงชาเย็น  อะไรทำนองนั้น เรียกว่าใบอ่อนจนถึงใบแก่ขายได้ราคา หลังจากนั้นก็ได้ชิมกาแฟดอยคำ และน้ำชาโครงการหลวง แต่ที่ผมดื่มเสีย 2 แก้วซ้อนคือน้ำเสารส ดื่มแล้วชื่นใจหายกระหายเลย 

            

                                บ้านรูปแบบดั้งเดิม...เกือบไม่มีให้เห็น

             รถยนต์วิ่งลงไปตามทาง มุ่งสู่บ้านสบก๋าย ริมน้ำแม่แตง เพื่อล่องแพไม้ไผ่  ขนาดบรรทุก 5-6 คนต่อแพ   น้ำใสๆน่าลงเล่นหรืออาบ จุดนี้เป็นธุรกิจล่องแพที่ทำกันมานาน ผมไม่ได้ลงไปล่องแพกับเขาด้วย ส่วนหัวหน้าทัวร์คุณมนตรี ตรีชารี นำทีมลงไปกันหลายแพ ผมนั่งรถยนต์ไปรอที่ท้ายน้ำ พอแพแรกโผล่มาถึง ก็มีการชูมือชูไม้เหมือนว่าได้รับชัยชนะกลับมาทีเดียวเชียวครับ

                วิถีชีวิตม้งแม่บ้าน                                        เครื่องเป่าของชนเผ่าม้ง

            แต่เมื่อเดินมาคุยกันนั่นแหละถึงได้รู้ว่า การล่องแพเที่ยวนั้นมีเรื่องน่าตื่นเต้นมากๆด้วยว่าเกิดแพแตก ตกน้ำป๋อมแป๋ม สรุปว่า ตื่นเต้นตกใจนิดหน่อย น้องบุ๋มพูดขึ้นเบาๆ

            "บุ๋มร้องว่า พี่มนตรีช่วยบุ๋มด้วย นั่นแหละคำพูดประโยคเด็ดที่ออกมาจากจริงใจที่สุด"

            "ผมคว้าคอน้องบุ๋มได้ก็ลากขึ้นแพเลย ไม่รู้ว่าว่ายน้ำไม่เป็นนะเนี่ย"

            งานนี้ได้สองอย่าง

            หนึ่งวลีที่จริงใจที่สุดของน้องบุ๋ม

             สองวีระบุรุษสุดหล่อ นาฬิกาที่เมียซื้อให้ราคาหมื่นกว่าๆ ตกน้ำป๋อมแป๋ม..หายไป        

             เพื่อนๆแซวต่อว่า ดีที่ยังเหลือสร้อยคอทองคำหนัก 10 บาท แต่ได้คำตอบลึกยิ่งกว่า 10 กว่าบาทก็ไม่เท่าไร กลัวพระสมเด็จที่ห้อยหายน่ะมากกว่า งานนี้ได้เสียว

             คนว่ายน้ำไม่เป็นไม่ควรลงไปล่องแพแม้ว่าจะมีเสื้อชูชีพ  คนที่มีของมีค่าก็ไม่ควรใส่ไปล่องแพ พ่างๆ

ปล.  ค่าเช่าเต็นท์ 1 หลังนอน 2 คน ราคา 100 บาท  ค่าฟืน 1 กอง ราคา 500 บาท  ค่าบำรุงสถานที่ 1 คน 20 บาท ค่ารถโดยสาร 8 คน/รถเล็กไปกลับ ราคา 1,500 บาท(จากศูนย์ม่อนเงาะ-ยอดดอย)

                  ซิมบิเดี่ยมชมพู                                           เสารสรสเยี่ยม

                       การเก็บใบชา                                   ลุงเดชสาธิตให้ดูการชงชา

                  กำลังจะล่องแพ                                          จบแล้วรอดตายนาฬิกาหาย

                  เฝ้ารอเพื่อนๆ                                          ต้นส้มโชกุนของม้งวันนี้

          เชิญเที่ยวงานเทศกาลดอกไม้บานที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ 1 ธค.53-6 กพ.54

             ติดตามตอนต่อไปสถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

     

 

Tags : ท่องเที่ยวทั่วถิ่นไทย โครงการหลวงม่อนเงาะ สถานีวิจัยโครงการหลวงแม่หลอด อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view