http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,003,763
Page Views16,312,633
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

สาธิตเทคนิคการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทย และเทคนิคการติดตามเหยี่ยวดำไทยระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม

สาธิตเทคนิคการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทย และเทคนิคการติดตามเหยี่ยวดำไทยระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม

ข่าววันปล่อยนก / วช. หนุนติดอุปกรณ์ส่งสัญญาณดาวเทียมติดตามเส้นทางอพยพเหยี่ยวดำไทยไปอินเดีย 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทยเพื่อศึกษาเส้นทางอพยพระหว่างประเทศ หลังพบนกเหยี่ยวชื่อ “นาก” ที่เกิดใน อ.ปากพลี จ.นครนายก อพยพผ่านเส้นทางเมียนมาร์ บังคลาเทศ และไปอาศัยอยู่ที่อินเดีย

 

 ผศ.น.สพ.ดร.ไชยยันต์ เกษรดอกบัว หน่วยวิจัยนกนักล่าและเวชศาสตร์การอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สาธิตเทคนิคการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทย และเทคนิคการติดตามเหยี่ยวดำไทยระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อศึกษาเส้นทางอพยพ ณ สถาบันเกษตรอินทรีย์อาชีพแบบพอเพียง ต.ท่าเรือ อ.ปากพลี จ.นครนายก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564

 

 การติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมบนตัวเหยี่ยวดำไทยหรือเหยี่ยวดำชนิดย่อยประจำถิ่นในประเทศไทย เพื่อศึกษาเส้นทางอพยพเพิ่มเติมหลังจากนักวิจัยพบว่า เหยี่ยวดำเพศผู้ชื่อนาก รหัส R96 ซึ่งเกิดที่ อ.ปากพลี จ.นครนายก และได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียม อพยพผ่านเส้นทางเมียนมาร์ บังคลาเทศ และไปอาศัยอยู่ในรัฐคานัทฑะกะ ประเทศอินเดียขณะนี้ รวมระยะทางอพยพประมาณ 4,000 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของอาเซียนในการติดอุปกรณ์ติดตามดังกล่าวให้เหยี่ยวดำไทย และยังได้พบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเส้นทางอพยพของเหยี่ยวดำไทย ซึ่งเดิมเข้าใจว่าเป็นนกประจำถิ่นและอาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2564 นี้ทีมวิจัยจึงมีแผนติดตามเหยี่ยวดำไทยด้วยดาวเทียมเพิ่มอีก 6 ตัว

 

 ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกของโลกในการติดอุปกรณ์ติดตามด้วยดาวเทียมให้เหยี่ยวดำไทย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิลวัส ไมแกรนส์ โกวินทะ (Milvus migrans govinda) เนื่องจากก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยโกวินทะด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม แต่มีทีมนักวิจัยอินเดียใช้เทคโนโลยีดาวเทียมศึกษาเหยี่ยวดำชนิดย่อยอีกชนิดคือ เหยี่ยวดำอพยพ หรือ เหยี่ยวดำใหญ่ หรือ เหยี่ยวหูดำ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า มิลลัส ไมแกรนส์ ลิเนียตัส (Milvus migrans lineatus)

 

 ข้อมูลจาก ผศ.น.สพ.ดร.ไชยยันต์ ระบุว่า เหยี่ยวดำไทยกระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย และเนปาล และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และไทย ยกเว้นมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ สำหรับในประเทศไทยพบการกระจายพันธุ์ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางลงไปถึง จ.เพชรบุรี โดยพื้นที่วิจัยของโครงการวิจัยนิเวศวิทยาของเหยี่ยวดำไทยอยู่ใน จ.นครนายก จ.อ่างทอง และ จ.เพชรบุรี                         

Tags :

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view